การจำลองแผนที่น้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ด้วยแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า-น้ำหลาก (RRI model) ที่คาบการเกิดซ้ำต่างกันของลุ่มน้ำ

ผู้แต่ง

  • ชิดสุมน ศศิรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • อนุรักษ์ ศรีอริยวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ
  • บุญโฮม กิมมณี

คำสำคัญ:

แผนที่ความเสียหายน้ำท่วม, แบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า-น้ำหลาก, ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

บทคัดย่อ

ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นลุ่มน้ำสำคัญที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งใจกลางของประเทศไทย ลุ่มน้ำแห่งนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญต่อโครงสร้างทางเศรษฐศาสตร์ การคมนาคม และการดำเนินชีวิตของประชาชนในประเทศ แต่ในพื้นที่นี้กลับได้รับผลกระทบของเหตุการณ์อุทกภัยมาเป็นเวลานานเช่น เหตุการณ์อุทกภัยในปี พ.ศ.2554 ซึ่งสร้างความเสียโอกาสในเชิงเศรษฐกิจและหยุดชะงักการพัฒนาของประเทศ โดยในการศึกษานี้จะทำการสร้างแผนที่ความเสียหายน้ำท่วมของพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ด้วยแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า-น้ำหลาก (RRI model) ซึ่งเป็นแบบจำลองสองมิติทางอุทกศาสตร์แบบกระจายพื้นที่ ที่มีความสามารถในการจำลองการไหลของน้ำในแม่น้ำและระดับความลึกน้ำท่วม จากนั้นจึงสร้างแผนที่ระดับน้ำท่วมสูงสุดโดยใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ArcGIS โดยวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝนสถานีที่จำลองคาบการเกิดซ้ำในสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้แก่ ที่คาบการเกิดซ้ำที่ 50,100 และ 200 ปี โดยหวังว่าผลการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจต่อไป อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการวางแผนจัดการความเสี่ยงจากอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยา

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

[1]
ศศิรัตน์ ช., ศรีอริยวัฒน์ อ., และ กิมมณี บ., “การจำลองแผนที่น้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ด้วยแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า-น้ำหลาก (RRI model) ที่คาบการเกิดซ้ำต่างกันของลุ่มน้ำ”, ncce27, ปี 27, น. WRE15–1, ก.ย. 2022.