การใช้เทคนิควิศวกรรมคุณค่าในการเลือกใช้ฐานรากแบบปรับปรุงแทนที่ฐานรากแผ่แบบดั้งเดิม สำหรับบ้านพักอาศัย 1 ชั้นในพื้นที่ชุมชน

ผู้แต่ง

  • วีระพันธ์ หมอกมุงเมือง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่
  • เดชดำรงค์ สุปินะ
  • มานพ แก้วโมราเจริญ

คำสำคัญ:

วิศวกรรมคุณค่า, ฐานราก, การปรับปรุงฐานราก

บทคัดย่อ

ในการก่อสร้างบ้านพักอาศัยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการก่อสร้าง ขั้นตอนการก่อสร้าง หรือวัสดุที่นำใช้ เพื่อพัฒนาให้งานก่อสร้างบ้านพักอาศัยนั้นใช้ต้นทุนลดลง ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างที่รวดเร็วมากขึ้น แต่ยังคงคุณภาพและคุณสมบัติทางวิศวกรรมเหมือนเดิม ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงได้ทำการเปรียบเทียการใช้ฐานรากแผ่แบบดั้งเดิมกับฐานรากที่ปรับปรุงโดยการใช้เสาเข็มเจาะโดยไม่มีฐานราก ในโครงการก่อสร้างบ้านพักอาศัย 1 ชั้นซึ่งจะสามารถลดขั้นตอนการก่อสร้างได้ และยังสามารถทำงานในพื้นที่ชุมชนที่มีความแออัดและพื้นที่ในการทำงานน้อย เนื่องจากใช้เครื่องจักรที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายและไม่กระทบกับพื้นที่ชุมชน โดยงานวิจัยนี้เริ่มต้นจากการสำรวจข้อมูลที่จำเป็นในการออกแบบฐานรากของบ้าน จากนั้นจึงทำแบบสอบถามจากวิศวกรและผู้รับเหมาเพื่อหาปัจจัยที่สำคัญของการก่อสร้างฐานราก แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้มานั้นมาวิเคราะห์ตามกระบวนวิเคราะห์วิศวกรรมคุณค่าทั้ง 6 ขั้นตอน ซึ่งจากการเปรียบเทียบด้านราคาและระยะเวลาในการก่อสร้างสำหรับบ้านพักอาศัย 1 ชั้น พบว่าการใช้ฐานรากแบบปรับปรุงมีต้นทุนการก่อสร้างน้อยกว่าและใช้เวลาในการก่อสร้างน้อยกว่าการก่อสร้างฐานรากแผ่

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

วิธีการอ้างอิง

[1]
หมอกมุงเมือง ว., สุปินะ เ. ., และ แก้วโมราเจริญ ม. ., “การใช้เทคนิควิศวกรรมคุณค่าในการเลือกใช้ฐานรากแบบปรับปรุงแทนที่ฐานรากแผ่แบบดั้งเดิม สำหรับบ้านพักอาศัย 1 ชั้นในพื้นที่ชุมชน”, ncce27, ปี 27, น. CEM26–1, ก.ย. 2022.

ฉบับ

บท

วิศวกรรมการบริหารงานก่อสร้าง