บล็อกประสานมวลเบาบดเป็นมวลรวมสำหรับการผลิตบล็อกใหม่: หนทางสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน
บทคัดย่อ
วัสดุมวลรวม (Aggregate) เป็นวัสดุธรรมชาติที่ใช้มากที่สุดในการก่อสร้าง และความต้องการใช้เพิ่มมากขึ้นตามการขยายตัวของเมือง ทำให้เกิดปัญหาความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังมีปัญหาการจัดการขยะที่ทุกประเทศกำลังเผชิญ เพื่อลดปัญหาทั้งสองนี้จึงมีแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้คุ้มค่าและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด วิธีการหนึ่งที่สามารถทำได้คือนำผลิตภัณฑ์ที่เลิกใช้แล้วกลับไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตใหม่ งานวิจัยนี้จึงศึกษาความเป็นไปได้ของนำคอนกรีตบล็อกมวลเบา (ชนิด C10) ที่เสียหายจากกระบวนการผลิตของโรงงานที่เป็นกรณีศึกษา นำมาบดเพื่อใช้เป็นมวลรวมรีไซเคิลทดแทนทรายในการผลิตคอนกรีตบล็อกมวลเบาใหม่ โดยใช้สูตรผสมที่ต่างกัน พบว่า บล็อกที่บดแล้วมีความถ่วงจำเพาะใกล้เคียงกับทรายแม่น้ำทั่วไปแต่มีอัตราการดูดซึมน้ำมากกว่าทรายแม่น้ำ เมื่อนำไปผสมเป็นบล็อกมวลเบาใหม่ (ชนิด C12) พบว่า ทุกอัตราส่วนผสมมีค่าความต้านแรงอัดที่อายุการบ่ม 28 วัน อยู่ระหว่าง 27-39 kg/cm2 ซึ่งสูงกว่าความต้านแรงอัดตาม มอก.2601-2556 กำหนด ส่วนค่าการดูดซึมน้ำส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์ มีเพียง 1 สูตรผสมที่ไม่ผ่านเกณฑ์ แต่ค่าความหนาแน่นเกือบทุกสูตรผสมสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน นั่นคืออยู่ในช่วง 1,166-1,423 kg/m3 ซึ่งสูงกว่าความหนาแน่นบล็อกมวลเบาชนิด C12
จำนวนการดาวน์โหลด
Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์