การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในซีเมนต์เพสต์ด้วยเทคนิค FTIR เมื่อใช้วัสดุปอซโซลานที่แตกต่างกัน
คำสำคัญ:
แคลเซียมไฮดรอกไซด์, กำลังรับแรงอัด, เถ้าถ่านหิน, ซิลิกาฟูม, เศษแก้วบทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในซีเมนต์เพสต์ด้วยเทคนิค FTIR เมื่อใช้วัสดุปอซโซลานที่แตกต่างกัน วัสดุปอซโซลานที่ใช้ได้แก่ เถ้าถ่านหินแหล่ง A (FA), เถ้าถ่านหินแหล่ง B (BL) และ เศษแก้ว (GP) โดยใช้อัตราส่วนซีเมนต์ต่อวัสดุปอซโซลาน 90:10, 80:20 และ 70:30 โดยน้ำหนัก ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในซีเมนต์เพสต์ด้วยเทคนิค FTIR ที่ wavenumber 500 – 4000 ต่อเซนติเมตร ทดสอบกำลังรับแรงอัดของซีเมนต์มอร์ต้าที่อายุ 1, 7, 14 และ 28 วัน ผลการศึกษาพบว่า พีคของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ที่ตำแหน่ง 3640 ต่อเซนติเมตร มีค่าลดลงเมื่อเวลาการบ่มเพิ่มขึ้นและเมื่อแทนที่ปูนซีเมนต์ด้วยวัสดุปอซโซลานเพิ่มขึ้น และมีความเข้มของพีคที่ตำแหน่ง 970 ต่อเซนติเมตร ซึ่งเป็นตำแหน่งของแคลเซียมซิลิเกตไฮเดรต ผลของกำลังอัด พบว่า เมื่ออายุการบ่มเพิ่มขึ้นกำลังอัดมีค่าเพิ่มลด และกำลังอัดมีค่าลดลงเมื่อร้อยละการแทนที่ของวัสดุปอซโซลานเพิ่มขึ้น โดยการใช้ซิลิกาฟูมเป็นวัสดุปอซโซลานให้ค่ากำลังอัดสูงที่สุด และการใช้เถ้าถ่านหินแหล่ง BL ให้ค่ากำลังอัดต่ำที่สุด
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์