การวิเคราะห์โครงสร้างสะพานของทางหลวงหมายเลข 118 สาย เชียงใหม่ – เชียงราย ภายใต้แรงแผ่นดินไหว
คำสำคัญ:
สะพานทางหลวง, รอยเลื่อนที่มีพลัง, แผ่นดินไหว, พฤติกรรมทางพลศาสตร์, การวิเคราะห์แบบไม่เชิงเส้นแบบประวัติเวลาบทคัดย่อ
สะพานทางหลวงเป็นสาธารณูปโภคที่มีความสำคัญ เนื่องจากใช้สำหรับข้ามจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งหรือเชื่อมต่อระหว่าง หุบเขา แม่น้ำ ถนนหรือทางรถไฟ อย่างไรก็ตามหากสะพานไม่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสม อาจส่งผลให้โครงสร้างสะพานทางหลวงเกิดการพังทลายและสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ แผ่นดินไหวนับเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สามารถสร้างความเสียหายให้โครงสร้างได้ จังหวัดเชียงใหม่และเชียงรายเป็นจังหวัดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 1 และ 2 ของภาคเหนือ อีกทั้งยังมีเขตพื้นที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านเช่น ลาว เมียนมา และจีนตอนใต้ ในการส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเข้ามาในประเทศ ในการศึกษานี้สะพานทางหลวงหมายเลข 118 (ละติจูดที่ 18.979623, ลองติจูดที่ 99.259073) ตำบลป่าเมี่ยง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นสะพานที่เชื่อมต่อจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดเชียงรายได้รับเลือกเพื่อทำการประเมินสมรรถนะต้านทานแผ่นดินไหว ในบริเวณดังกล่าวตั้งอยู่ใกล้กับรอยเลื่อนที่มีพลัง ซึ่งเคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ เมื่อปี พ.ศ.2557 ดังนั้นศึกษาพฤติกรรมทางพลศาสตร์ภายใต้แรงแผ่นดินไหวของสะพานทางหลวงที่เลือกจึงมีความสำคัญ สำหรับการศึกษานี้มุ่งเน้นการศึกษาพฤติกรรมทางพลศาสตร์ภายใต้แรงแผ่นดินไหวของโครงสร้างสะพานทางหลวง ซึ่งพฤติกรรมทางพลศาสตร์ภายใต้แรงแผ่นดินไหวของโครงสร้างสะพานทางหลวงที่เลือกโดยการวิเคราะห์แบบไม่เชิงเส้นแบบประวัติเวลา จะถูกนำเสนอออกมาเป็นข้อมูลและข้อเสนอแนะจากผลลัพธ์ที่ได้
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์