แนวทางการพัฒนาระบบสนับสนุนการทำงานที่โปร่งใสในงานก่อสร้างภาครัฐ

  • พิชา ศรีพระจันทร์ สาขาสถาปัตยกรรม วิทยาลัยสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คำสำคัญ: ความโปร่งใส, ระบบสนับสนุนการทำงานที่โปร่งใส, งานก่อสร้างภาครัฐ

บทคัดย่อ

ประเทศไทยยังคงมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสในการทำงานก่อสร้างภาครัฐอยู่ ทั้งนี้ปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายในการผลักดันให้เกิดความโปร่งใสในการดำเนินงานก่อสร้างภาครัฐอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับความโปร่งใสในการจัดจ้างงานก่อสร้างภาครัฐในประเทศไทย 2. ศึกษาลักษณะแนวคิดการเปิดเผยข้อมูลและระดับการเปิดเผยข้อมูลของประเทศไทย นำเปรียบเทียบระบบสนับสนุนการทำงานที่โปร่งใสในงานก่อสร้างภาครัฐในประเทศที่ประสบความสำเร็จ 3.นำเสนอแนวทางการพัฒนาระบบหรือเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ข้อมูลการทำงานที่โปร่งใสในงานก่อสร้างภาครัฐ มีขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยโดยการสำรวจแนวความคิดเกี่ยวกับความโปร่งใสในการจัดจ้างงานก่อสร้างภาครัฐด้วยแบบสอบถามจำนวน 66 ชุด จากกลุ่มของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาระบบหรือเครื่องมือที่ประสบความสำเร็จในสนับสนุนการทำงานที่โปร่งใสในงานก่อสร้างภาครัฐในประเทศที่มีลำดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตที่สูง ผลการศึกษา พบว่า ประเทศเกาหลีใต้ เน้นใช้ระบบทางกฎหมายและหน่วยงานปฏิบัติที่ชัดเจนในการควบคุมการทำงานที่โปร่งใสในแต่ละขั้นตอนในงานก่อสร้างภาครัฐ มีโปรแกรมระบบกลางควบคุมการทำงา นแต่ละขั้นตอน ประเทศเครือสหราชอาณาจักร เน้นการเปิดเผยข้อมูลงานก่อสร้างอย่างตรงไปตรงมาและให้ประชาชนและองค์กรอิสระมีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูลในงานก่อสร้างภาครัฐปัญหาของระบบสนับสนุนการทำงานที่ทำให้เกิดความไม่โปร่งใสในการทำงานในประเทศไทย คือ 1.ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย 2.ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างภาครัฐได้ยาก 3.ขาดระบบสนับสนุนการบันทึกข้อมูลในการแสดงผลทำงานที่โปร่งใส แนวทางการปรับ ปรุงและ
พัฒนาระบบที่สนับสนุนการทำงานที่ก่อให้ความโปร่งใส ได้แก่ 1.การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง 2.ควรมีการพัฒนาระบบสนับสนุนการบันทึกข้อมูลที่ก่อให้เกิดการทำงานที่โปร่งใสและให้ประชาชนเข้าถึงได้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
สาขาของบทความ
วิศวกรรมการบริหารงานก่อสร้าง