อิทธิพลวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริม ต่อระยะเวลาเริ่มต้น การเกิดรอยร้าวของคอนกรีต อันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริม

ผู้แต่ง

  • วิษณุ สุวรรณมาโจ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน
  • วันชัย ยอดสุดใจ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

คำสำคัญ:

คุณสมบัติของวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริม, การเกิดรอยร้าวของคอนกรีต, การกัดกร่อนของเหล็กเสริม

บทคัดย่อ

การป้องกันความเสียหายของโครงสร้างคอนกรีตจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริมในโครงสร้างใหม่ทำได้หลายวิธี หนึ่งในวิธีที่ทำได้ทั่วไปและได้รับการแนะนำจาก ACI (American Concrete Institute) คือ เคลือบผิวเหล็กเสริมเพื่อให้โครงสร้างได้รับการป้องกันตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง โดยการศึกษาครั้งนี้ได้ทดสอบหากำลังรับแรงอัดและมอดูลัสยืดหยุ่นของคอนกรีต การทดสอบหาอิทธิพลของการยึดเกาะของเหล็กเสริม และการทดสอบเร่งปฏิกิริยาการกัดกร่อนให้เกิดสนิมเพื่อหาระยะเวลาเริ่มต้นการแตกร้าวของตัวอย่างคอนกรีตในวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริม 4 ประเภท คือ 1) Epoxy 2) Zinc Rich 3) Latex Slurry Cement และ 4) ไม่มีวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริม ผลการทดสอบ พบว่า คุณสมบัติของตัวอย่างคอนกรีตที่ทดสอบมีค่าเฉลี่ยกำลังรับแรงอัดประมาณ 250 kg/cm2 และมีค่าเฉลี่ยมอดูลัสยืดหยุ่นประมาณ 240,400 kg/cm2 การทดสอบแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กเสริมกับคอนกรีตของตัวอย่างคอนกรีตที่ไม่มีวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริมมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กเสริมกับคอนกรีตดีที่สุด และการเคลือบผิวเหล็กเสริมด้วยวัสดุเคลือบผิวเหล็ก ประเภท Latex Slurry Cement สามารถปกป้องเหล็กเสริมจากปัจจัยที่ทำให้เกิดสนิมได้ดีกว่าวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริมประเภทอื่น

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-05

วิธีการอ้างอิง

[1]
สุวรรณมาโจ ว. และ ยอดสุดใจ ว., “อิทธิพลวัสดุเคลือบผิวเหล็กเสริม ต่อระยะเวลาเริ่มต้น การเกิดรอยร้าวของคอนกรีต อันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริม”, ncce27, ปี 27, น. MAT32–1, ก.ย. 2022.