ผลของสารเชื่อมประสานคอนกรีตกับวัสดุซ่อมแซมคอนกรีตต่อระยะเวลาเริ่มต้นการเกิดรอยร้าว อันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริม

ผู้แต่ง

  • สมเจตน์ เขียวขำ Department of Civil Engineering Faculty of Engineering Kasetsart University (Bangkhen Campus)
  • วันชัย ยอดสุดใจ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยาเขตบางเขน)

คำสำคัญ:

สารเชื่อมประสานคอมกรีต, วัสดุซ่อมแซมคอนกรีต, การกัดกร่อนของเหล็กเสริม

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งเน้นการตรวจสอบพฤติกรรมของการเกิดรอยร้าวอันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริม และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารเชื่อมประสานระหว่างคอนกรีตกับวัสดุซ่อมแซมที่ส่งผลต่อระยะเวลาเริ่มต้นการเกิดรอยร้าวอันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริม โดยการจำลองการซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กและทดสอบเร่งปฏิกิริยาการกัดกร่อนในครั้งนี้ ใช้วัสดุซ่อมแซมปูนทรายชนิดฉาบซ่อม (Repair Mortar) และสารเชื่อมประสาน (Bonding Agent) ชนิด Latex และ Epoxy ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมของการเกิดรอยร้าวอันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริมของตัวอย่างที่ทำการทดสอบให้ผลที่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารเชื่อมประสานกับวัสดุซ่อมแซม พบว่า ตัวอย่างที่หล่อด้วยวัสดุซ่อมแซมปูนทรายชนิดฉาบซ่อมกับสารเชื่อมประสานคอนกรีต ชนิด Epoxy มีระยะเวลาเริ่มต้นการเกิดรอยร้าวช้าที่สุด รองลงมาเป็นตัวอย่างที่หล่อด้วยวัสดุซ่อมแซมปูนทรายชนิดฉาบซ่อมทั้งก้อน และตัวอย่างที่หล่อด้วยวัสดุซ่อมแซมปูนทรายชนิดฉาบซ่อมกับสารเชื่อมประสานคอนกรีต ชนิด Latex ตามลำดับ ส่วนตัวอย่างที่หล่อด้วยวัสดุซ่อมแซมปูนทรายชนิดฉาบซ่อมกับไม่มีสารเชื่อมประสานคอนกรีตจะมีระยะเวลาเริ่มต้นการเกิดรอยร้าวเร็วที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-05

วิธีการอ้างอิง

[1]
เขียวขำ ส. และ ยอดสุดใจ ว., “ผลของสารเชื่อมประสานคอนกรีตกับวัสดุซ่อมแซมคอนกรีตต่อระยะเวลาเริ่มต้นการเกิดรอยร้าว อันเนื่องมาจากการกัดกร่อนของเหล็กเสริม”, ncce27, ปี 27, น. MAT34–1, ก.ย. 2022.