การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจหลังเข้าใช้งานของอาคารทาวน์เฮาส์ที่ก่อสร้างผนังด้วยระบบการก่อสร้าง แบบผนังรับน้ำหนักและแบบดั้งเดิม
คำสำคัญ:
อสังหาริมทรัพย์, ระบบโครงสร้างแบบดั้งเดิม, ระบบโครงสร้างแบบผนังรับน้ำหนัก, การประเมินหลังใช้งาน, ผนังอาคารบทคัดย่อ
จากสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้องหาวิธีลดต้นทุนการผลิต ลดระยะเวลา และลดปริมาณแรงงานในการผลิตเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งในตลาด จึงทำให้ระบบโครงสร้างผนังรับน้ำหนักถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันก็ยังคงมีผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์บางส่วน เลือกใช้ระบบโครงสร้างแบบดั้งเดิมเพื่อตอบรับความต้องการจากกลุ่มลูกค้าบางกลุ่ม ผู้วิจัยจึงประสงค์ทำการศึกษาวิจัยถึงความพึงพอใจจากระบบก่อสร้างผนังแบบระบบผนังรับน้ำหนักและระบบดั้งเดิม โดยใช้การประเมินหลังการใช้งาน (Post Occupancy Evaluation: POE) โดยเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ซึ่งใช้สำรวจความเห็นจากผู้ให้บริการหลังการขาย 7 คนซึ่งดูแลโครงการที่มีความแตกต่างของระบบโครงสร้างทั้ง 2 ระบบโดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลจากโครงการซึ่งมีระบบย่อยและระดับราคาแตกต่างกัน ทำการวิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ความพึงพอหลังเข้าใช้งานอาคารของกลุ่มลูกค้าที่อาศัยในที่อยู่อาศัยที่มีระบบโครงสร้างที่แตกต่างกันมีความพอใจในด้านต่าง ๆ สอดคล้องกัน มีเพียงความพึงพอใจในด้านการดูดซับและคายความชื้น การดัดแปลงต่อเติมตัวอาคาร รอยร้าวหลังการใช้งานและการรั่วซึมตามจุดต่างๆของอาคารเท่านั้นที่เห็นความเห็นไม่สอดคล้องกัน ผลการศึกษาทำให้ทราบถึงความแตกต่างของความพึงพอใจหลังเข้าใช้งานอาคารโดยเปรียบเทียบจากระบบโครงสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งผู้ประกอบการสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกใช้ระบบการก่อสร้างเพื่อสร้างความพึงพอใจและคุณภาพชีวิตของลูกค้าในระยะยาวได้
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์