การประยุกต์ใช้เครื่องมือหยั่งความลึกด้วยคลื่นเสียงความถี่เดียวในคลองบ้านนาลาว
คำสำคัญ:
เครื่องหยั่งความลึก, การสำรวจใต้ผิวน้ำ, แผนที่ใต้ผิวน้ำบทคัดย่อ
การประยุกต์ใช้เครื่องมือหยั่งความลึก เป็นวิธีการหาค่าระดับในงานสำรวจรังวัดใต้พื้นผิวน้ำ โดยมีน้ำเป็นสิ่งกรีดขวางที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น สระ น้ำ อ่างเก็บน้ำ คลอง แม่น้ำ หรือทะเล เป็นต้น จำเป็นต้องทำการรังวัดหาความสูงต่ำของพื้นผิวดินใต้น้ำ เพื่อนำมาแสดงเป็นแผนที่ภูมิประเทศ และการ คำนวณหาปริมาตรพื้นผิวที่ต้องการ เครื่องมือและอุปกรณ์หลักสำหรับการรังวัดหาค่าระดับด้วยเครื่องมือหยั่งความลึก ประกอบด้วย ยานพาหนะ เครื่องมือ การรังวัดระบุตำแหน่งทางราบด้วยดาวเทียมแบบจลน์ และเครื่องมือหยั่งความลึกด้วยคลื่นเสียง เครื่องมือและอุปกรณ์เหล่านี้ขึ้นอยู่กับพื้นที่การสำรวจรังวัด และความละเอียดถูกต้อง เช่น ยานพาหนะที่นำอุปกรณ์เครื่องมือไปอาจเป็น เรือพาย เรือติดเครื่องยนต์ เรือบังคับไร้คนขับ เรือดำน้ำ โดรนใต้น้ำ เป็นต้น เครื่องมือการรังวัดระบุตำแหน่งทางราบอาจเป็นกล้องวัดมุมวางแนว กล้องประมวลผลรวม และปัจจุบันสามารถใช้การรังวัดด้วยโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ เครื่องมือหยั่งความลึกด้วยคลื่นเสียงสำหรับการวัดระยะดิ่ง แบ่งได้เป็น คลื่นความถี่เดียว คลื่นความถี่คู่ คลื่นหลายความถี่
งานวิจัยนี้ใช้การประยุกต์เครื่องมือหยั่งความลึกด้วยคลื่นเสียงความถี่เดียวทำการรังวัดหาความลึกในคลองบ้านนาลาว มีความลึกประมาณ 1-5 เมตร เพื่อสร้างแผนที่ภูมิประเทศ รูปตัดแนวตามยาวและแนวตามขวาง โดยจะทำการวัดสอบเครื่องมือหยั่งความลึกในแต่ละระยะที่ 1 เมตร 2 เมตร และ 3 เมตร จำนวนแต่ละระยะ 10 ครั้ง ประเภทของน้ำ เป็นน้ำใส และน้ำขุน เพื่อหาค่าความละเอียดถูกต้องของเครื่องมือหยั่งความลึกนี้ ผลการวัดสอบเครื่องมือได้ ค่าเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ -0.140±0.093 เมตร เมื่อนำเครื่องมือออกทำการรังวัดบริเวณคลองบ้านนาลาว เทียบกับจุดตรวจสอบ มีความคลาดเคลื่อนไป - 0.144 เมตร และทำการปรับแก้ค่าของการวัดสอบเครื่องมือมีความคลาดเคลื่อนน้อยลง -0.046 เมตร สรุปผลได้ว่า ถ้าเครื่องมือไม่ได้เป็นแบบรังวัดจำเป็น อย่างมากในการวัดสอบเพื่อหาค่าในการปรับแก้จะทำให้ค่ามีความถูกต้องสูงขึ้น และถ้าเครื่องมือแบบรังวัดก็ยังต้องมีการวัดสอบเพื่อดูเกณฑ์มาตรฐานของ เครื่องมือสำหรับการรังวัด
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์