การบูรณาการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อเพิ่มรายได้ แก่เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในจังหวัดสงขลา

  • จิรวัฒน์ จันทองพูน สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
  • ต่อลาภ การปลืมจิตร สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
  • สมใจ หมื่นจร สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
  • พรนรายณ์ บุญราศรี สาขาวิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย จ.สงขลา
คำสำคัญ: พืชเศรษฐกิจ, พืชแซมยาง, ยางพารา, กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์แบบหลายลำดับขั้น, ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและสร้างรายได้ในภาคใต้ของประเทศไทย แต่ในปัจจุบันได้ประสบปัญหาเรื่องราคาตกต่ำ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อหาพื้นที่เหมาะสมสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ สำหรับเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรในพื้นที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลาด้วยเทคนิคการลำดับขั้นเชิงวิเคราะห์แบบหลายลำดับขั้นร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยมีปัจจัยแบ่งออกเป็น 3 ปัจจัยหลัก คือ ด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งในแต่ละด้านมีด้วยปัจจัยรองทั้งหมด 7 ปัจจัย คือ ข้อมูลภูมิประเทศ ข้อมูลภูมิอากาศ ข้อมูลชุดดิน ข้อมูลแหล่งน้ำ ข้อมูลราคา ข้อมูลถนน และข้อมูลป่าไม้ สำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยกล้วยน้ำ พริกไทย และไม้สัก จากการศึกษาพบว่า พืชเศรษฐกิจมีระดับชั้นความเหมาะสมระดับมาก (S1) ที่ร้อยละ 16.897 ของพื้นที่ ระดับชั้นความเหมาะสมระดับปานกลาง (S2) ที่ร้อยละ 44.217 ของพื้นที่ ระดับชั้นความเหมาะสมระดับน้อย (S3) ที่ร้อยละ 25.066 ของพื้นที่ และระดับชั้นไม่มีความเหมาะสม (N) ที่ร้อยละ 13.819 ของพื้นที่ ทั้งนี้ผลการศึกษาสามารถนำไปแนะนำพื้นที่เพาะปลูกพืชเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรในท้องถิ่นได้

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้