พฤติกรรมการรับแรงเฉือนของดินที่มีรากพืชในช่วงเติบโตและเสื่อมสภาพ
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันวิธีชีววิศวกรรมดินโดยใช้วัสดุธรรมชาติได้รับความนิยมมากขึ้นเพื่อปรับปรุงเสถียรภาพลาดดิน อย่างไรก็ตามการศึกษาปัจจุบันมุ่งเน้นศึกษารากพืชเมื่อมีการเจริญเติบโตเต็มที่ ซึ่งตามความเป็นจริงนั้นรากพืชมีทั้งการเจริญเติบโตและเสื่อมสภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้วิศวกรยังไม่มั่นใจในการนำพืชไปประยุกต์ใช้ งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาการเจริญเติบโตและเสื่อมสภาพของรากพืชที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการรับแรงเฉือนของดิน โดยมีการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อวัดผลของการเจริญเติบโตของรากและการเสื่อมสภาพของรากต่อพฤติกรรมการรับแรงเฉือนของดินที่ปลูกด้วยหญ้าแพรก (Cynodon dactylon) ซึ่งมีการตรวจวัดในช่วงเจริญเติบโตและเสื่อมสภาพจากการเผาไหม้และการใช้สารกำจัดวัชพืช โดยจะทำการทดสอบแรงเฉือนโดยตรง ผลการศึกษาพบว่าการเจริญเติบโตของหญ้า มีการเพิ่มขึ้นของกำลังรับแรงเฉือนสูงสุดของดินที่ปลูกพืชตามระยะเวลาการเจริญเติบโต และในช่วงเสื่อมสภาพของรากเมื่อเผาไหม้ กำลังรับแรงเฉือนมีการลดลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป และช้ากว่าการใช้สารกำจัดวัชพืช เหตุผลหลักมาจากที่สารกำจัดวัชพืชทำให้อวัยวะพืชตายและสลายเร็วขึ้น โดยกำลังรับแรงเฉือนมีค่าลดลงเทียบเท่ากับดินที่ไม่มีการปลูกพืชภายใน 2 เดือนหลังการได้รับสารกำจัดวัชพืช และ 4 เดือนหลังการเผาไหม้
Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์