การพัฒนาแผงควบคุมโครงการการวิเคราะห์มูลค่าที่ได้รับบนฐานแบบจ าลองสารสนเทศอาคาร
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์มูลค่าที่ได้รับ, แบบจำลองสารสนเทศอาคาร, การบริหารโครงการ, แผงควบคุมโครงการบทคัดย่อ
ในปัจจุบันงานก่อสร้างมีโครงสร้างที่ซับซ้อน ขนาดที่ใหญ่ วิศวกรและทีมงานมักถูกเร่งรัดให้สร้างสิ่งต่าง ๆ ให้เร็วขึ้น ส่งมอบโครงการที่มีคุณภาพดีขึ้น โครงการก่อสร้างส่วนใหญ่จึงต้องเผชิญกับความท้าทายที่มากขึ้น และต้องการวิธีการและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการประเมินสถานะโครงการ วัดความคืบหน้า ประสิทธิภาพต้นทุนและเวลาของโครงการก่อสร้าง อย่างไรก็ตามเนื่องจากสูตรทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน ความยากในการรวบรวมข้อมูล โดยส่วนใหญ่มักใช้ประสบการณ์ของผู้บริหารโครงการในการจัดการปัญหาดังกล่าว เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ทีมผู้วิจัยน าเสนอแบบจำลองสารสนเทศอาคาร หรือ BIM (Building Information Modeling) ในฐานะเทคโนโลยีใหม่และอนาคตของอุตสาหกรรมสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และการก่อสร้าง หรือ AEC (Architecture Engineering and Construction) รวมกับการวิเคราะห์มูลค่าที่ได้รับ หรือ EVA (Earned Value Analysis) สำหรับวัดความคืบหน้า ประสิทธิภาพต้นทุนและเวลาของโครงการก่อสร้าง ในบทความนี้จะสาธิตวิธีการพัฒนาเครื่องมือ EVA-BIM Project Dashboard (Earned Value Analysis on BIM-based Model Project Dashboard) โดยแสดงผลการวิเคราะห์มูลค่าที่ได้รับ โดยอ้างอิงจากข้อมูลแบบจำลอง BIM และอธิบายวิธีการใช้โปรแกรม แบบจินตภาพ Dynamo (Dynamo Visual Programming) เพื่อดึงข้อมูลจากแบบจำลอง BIM ที่พัฒนาจากซอฟต์แวร์ Autodesk Revit เพื่อน าไปสร้าง และแสดงผลเป็นแผงควบคุมโครงการด้วยซอฟต์แวร์ Microsoft Power BI ในการประเมินความเที่ยงตรงของเครื่องมือที่พัฒนาขึ้น ทำโดยการเปรียบเทียบ ผลการคำนวณ EVA จาก EVA-BIM Project Dashboard กับวิธีการทั่วไป โดยใช้โครงการก่อสร้างหอพักขนาด 3 ชั้น ผลแสดงว่าไม่พบความแตกต่างเมื่อ เทียบกับวิธีการทั่วไป และเครื่องมือ EVA-BIM Project Dashboard สามารถแสดงผลได้อย่างแม่นย าบนหลากหลายอุปกรณ์
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์