การประเมินค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินจากข้อมูลภาพดาวเทียม Sentinel-2A โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ

  • ติณณ์ ถิรกุลโตมร
  • อภิชิต คำภาหล้า Department of Civil Engineering, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Isan. Khon Kaen Campus.
  • วิลาวัณย์ ประสมทรัพย์
  • สฤษดิ์ ติยะวงศ์สุวรรณ
  • ฐานิตา ขำวิลัย
คำสำคัญ: มวลชีวภาพเหนือพื้นดิน, ข้อมูลภาพดาวเทียม Sentinel-2A, การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ

บทคัดย่อ

ค่ามวลชีวภาพสามารถแปลงเป็นค่าการกักเก็บคาร์บอนได้ด้วยการคูณค่าคงที่จาก Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ซึ่งการประมาณค่ามวลชีวภาพหรือการกักเก็บคาร์บอนยังเป็นประเด็นการศึกษาที่เป็นที่สนใจอย่างมากในปัจจุบัน บทความนี้ นำเสนอการประเมินค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินจากข้อมูลภาพดาวเทียม Sentinel-2A โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา คือ การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ จากข้อมูลมวลชีวภาพเหนือพื้นดินที่ได้จากการสำรวจรังวัดต้นไม้และสมการแอลโลเมตรี ข้อมูลค่าการสะท้อนแสงของภาพดาวเทียม Sentinel-2A ในช่วงคลื่นสีน้ำเงิน สีเขียว สีแดง อินฟราเรดใกล้ และข้อมูลค่าดัชนีความแตกต่างพืชพรรณแบบนอร์มอลไลซ์ (Normalized Difference Vegetation Index: NDVI) เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และการประเมินค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินของพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณมวลชีวภาพเหนือพื้นดิน ได้แก่ ค่า NDVI โดยแบบจำลองการประเมินค่ามวลชีภาพเหนือพื้นดิน คือ “Biomass = (12,281.87NDVI) - 2,682.65” โดยมีค่า R2 อยู่ที่ 0.76 และผลการประเมินค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินของพื้นที่ศึกษา มีปริมาณเท่ากับ 39.11 ตัน/ไร่

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
How to Cite
[1]
ถิรกุลโตมรต., คำภาหล้าอ., ประสมทรัพย์ว., ติยะวงศ์สุวรรณส., และ ขำวิลัยฐ., “การประเมินค่ามวลชีวภาพเหนือพื้นดินจากข้อมูลภาพดาวเทียม Sentinel-2A โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ”, ncce27, ปี 27, น. SGI06-1, ก.ย. 2022.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้