การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการความปลอดภัยทางถนน: กรณีศึกษาชุมชนทองเอน
คำสำคัญ:
การจัดการความปลอดภัยทางถนน, การจัดการชุมชนแบบประชาชนมีส่วนร่วม, การเสริมพลัง, งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะขับเคลื่อนชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยอาศัยหลักการ: (1) การจัดการชุมชนแบบประชาชนมีส่วนร่วม (Bottom-up Approach) คือ ประชาชนเป็นผู้ร่วมกำหนดทิศทางนโยบายและกระบวนการพัฒนาโดยมี “การออกแบบตามบริบท (Context Sensitive Solution Design, CSD)” เป็นเครื่องมือ, (2) การเสริมพลัง (Empowerment) เพื่อสร้างความยั่งยืนของชุมชน ระบบการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ความสมัครใจ และความไว้วางใจ, และ (3) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือในกระบวนการดำเนินงานแบบงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community-based Research, CBR) ซึ่งมีเป้าหมายหลักคือ ทำให้คนในชุมชนลุกขึ้นมาจัดการปัญหาด้วยตัวเอง ภายใต้การหนุนเสริมจากพี่เลี้ยง เปลี่ยนจากงานวิจัยที่คนนอกเป็นคนทำหรือเป็นคนตั้งโจทย์ มาเป็นการลงมือทำโดยคนในชุมชนเอง โจทย์เป็นของคนในชุมชน เพื่อให้เกิดพลังชุมชนในการจัดการปัญหาต่างๆ เป้าหมายของโครงการนี้คือ เพื่อพัฒนาความสามารถของชุมชนในการทำงานป้องกันและแก้ไขปัญหาความปลอดภัยทางถนนโดยมีชุมชน (โรงเรียน วัด ท้องถิ่น) เป็นศูนย์กลาง พื้นที่ศึกษาของโครงการนี้อยู่ในชุมชนทองเอน ต.ทองเอน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ผลการศึกษา ก่อให้เกิดทองเอน Model ซึ่งได้ใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนระดับชุมชน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ เช่น การจัดการความปลอดภัยหน้าโรงเรียน ทางแยก ทางข้าม การสร้างวินัยจราจร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ การบริหารจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางถนนนั้น จะต้องจะดำเนินการจัดการทั้งในแบบบนลงล่าง (Top-down) และแบบล่างขึ้นบน (Bottom-up) ตามลักษณะเฉพาะตัวของประเด็นปัญหา พร้อมกันนี้ จะผลักดันทองเอน Model นี้ สู่การขยายผลการดำเนินงานไปสู่พื้นที่อื่นๆ ต่อไป
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์