การใช้อากาศยานไร้คนขับสำหรับการบริหารโครงการก่อสร้างทางหลวง

ผู้แต่ง

  • ดนัย เรืองสอน สำนักบริหารโครงการทางหลวงระหว่างประเทศ กรมทางหลวง
  • วิชัย วงศ์วิศิษฐ์
  • สุชาภัสร์ โชติรักษา
  • ณัฐวุฒิ หัสดีวิจิตร
  • ศุภกร สุทธิพันธ์
  • ภาณุพงศ์ มะโนเย็น
  • มีชัย บุญเลิศ

คำสำคัญ:

อากาศยานไร้คนขับ, โดรน, การบริหารโครงการก่อสร้างทางหลวง, ความปลอดภัยในการควบคุมงานก่อสร้าง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ ใช้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle, UAV) หรือโดรน (Drone) มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารโครงการ ก่อสร้างของทางหลวงในหลายมิติ เช่น การวางแผนงานก่อสร้าง การมีส่วนร่วมของประชาชน การควบคุมคุณภาพ และความปลอดภัยในการควบคุมงาน เป็นต้น โครงการศึกษานี้เป็นโครงการนำร่องซึ่งได้เลือกโครงการก่อสร้างทางหลวงจำนวน 2 โครงการ คือ (1) โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) และ (2) โครงการก่อสร้างอาคารสำนักงานหน่วยบริหารและบำรุงรักษาสะพานมิตรภาพไทย - กัมพูชา (หนองเอี่ยน - สตึงบท) พร้อมด่านชั่งน้ำหนักรถบรรทุกและองค์ประกอบอื่น จ.สระแก้ว มาใช้เป็นกรณีศึกษา โดยใช้อากาศยานไร้คนขับติดตั้งกล้องและอุปกรณ์สำรวจแบบดิ
จิตัลเพื่อบันทึกข้อมูลกิจกรรมและผลงานในโครงการนำร่องดังกล่าว และทำการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการเก็บข้อมูลตามแบบที่เคยปฏิบัติกับการเก็บข้อมูลด้วยอากาศยานไร้คนขับ เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบงานและรายละเอียดวิธีดำเนินงานต่อไป การประเมิณประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้วยระบบงานเดิมเปรียบเทียบกับระบบอากาศยานไร้คนขับพบว่า การใช้อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก DJI MINI 2 มีความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบงานเดิมในการเก็บข้อมูลกิจกรรมและความก้าวหน้าของโครงการ นอกจากนี้ อากาศยานไร้คนขับที่มีประสิทธิภาพสูงอย่าง DJI Matrice 200 series V2 ติดตั้งกล้องถ่ายภาพความละเอียดสูง สามารถนำมาใช้ในการเก็บข้อมูลปริมาณดินถมเบื้องต้นในโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากการสำรวจปริมาณดินถมอยู่ที่ร้อยละ 9.79

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

ฉบับ

บท

วิศวกรรมการบริหารงานก่อสร้าง

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##