การปรับปรุงคุณภาพเศษคอนกรีตด้วยไฮดรอลิกซีเมนต์สำหรับวัสดุงานทาง

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ วงษ์ขันธ์ ภาควิชาเทคโนโลยีโยธาและสถาปัตยกรรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
  • กฤษฎา บุญรัตน์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโยธาและสถาปัตยกรรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โชคชัย ไตรยสุทธิ์ อาจารย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโยธาและสถาปัตยกรรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ

คำสำคัญ:

ไฮดรอลิกซีเมนต์, ชั้นรองพื้นทาง, เศษคอนกรีต

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติด้านกำลังอัดแบบไม่ถูกจำกัดของเศษคอนกรีตที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยซีเมนต์ไฮดรอลิก เพื่อใช้เป็นวัสดุในการก่อสร้างทาง ใช้เศษคอนกรีตบดละเอียดที่มีขนาดคละตามมาตรฐานของกรมทางหลวง กำหนดปริมาณไฮดรอลิกซีเมนต์ 1%, 2%, 3%, 4% และ 5% โดยน้ำหนัก ทำการทดสอบตัวอย่างแบบสูงกว่ามาตรฐานเพื่อหาปริมาณความชื้นที่เหมาะสม นำตัวอย่างไปบ่มที่อุณหภูมิห้อง 7 และ 14 วัน หลังจากนั้นนำไปแช่น้ำ 2 ชั่วโมงและนำมาทดสอบกำลังอัดแบบไม่ถูกจำกัด (Unconfined compressive strength, UCS) ตามมาตรฐานการออกแบบชั้นทางของกรมทางหลวง ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณความชื้นที่เหมาะสมในการบดอัดที่ร้อยละ 12 กำลังอัดของเศษคอนกรีตมีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณไฮดรอลิกที่ซีเมนต์และอายุการบ่มที่มากขึ้น โดยมีกำลังอัดสูงสุดที่ปริมาณซีเมนต์ไฮดรอลิก 5% อายุการบ่ม 14 วัน มีค่าเท่ากับ 49.0 ksc และปริมาณไฮดรอลิกซีเมนต์ที่เหมาะสมในการออกแบบและใช้เป็นชั้นรองพื้นทางตามมาตรฐาน ทล.-ม 204/2556 อยู่ที่ ร้อยละ 2.5 ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า เศษคอนกรีตเหลือทิ้งที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยไฮดรอลิกซีเมนต์ผ่านเกณฑ์วัสดุชั้นรองพื้นทางของกรมทางหลวง ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำเศษคอนกรีตปรับปรุงคุณภาพด้วยไฮดรอลิกซีเมนต์นำกลับมาใช้ในการก่อสร้างชั้นรองพื้นทาง

Downloads

Download data is not yet available.

ประวัติผู้แต่ง

กมลวรรณ วงษ์ขันธ์, ภาควิชาเทคโนโลยีโยธาและสถาปัตยกรรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีโยธาและสถาปัตยกรรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ

กฤษฎา บุญรัตน์, สาขาวิชาเทคโนโลยีโยธาและสถาปัตยกรรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ

นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีโยธาและสถาปัตยกรรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ โชคชัย ไตรยสุทธิ์, อาจารย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโยธาและสถาปัตยกรรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ

อาจารย์ สาขาวิชาเทคโนโลยีโยธาและสถาปัตยกรรม คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-07