ปรับปรุงสมบัติเชิงกลของบล็อกประสานด้วยวัสดุชีวภาพที่เหลือทิ้ง

  • สุดนิรันดร์ เพชรัตน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ นครนายก 26120
  • รุ่งอรุณ บุญถ่าน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • รุ่งโรจน์ รุ่งโรจน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ นครนายก 26120
  • ปกรณ์ภัทร บุดชา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องครักษ์ นครนายก 26120
  • อิทธิพร ศิริสวัสดิ์
คำสำคัญ: บล็อกประสาน, วัสดุชีวภาพที่เหลือทิ้ง, วัสดุก่อสร้าง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดน้้าหนักบล็อกประสานด้วยวัสดุชีวภาพที่เหลือทิ้ง และพัฒนาให้มีสมบัติทางวิศวกรรม ตามมาตรฐาน มผช.602/2547ประเภทอิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับน้้าหนัก เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาให้เป็นวัสดุก่อสร้างประหยัดพลังงาน ขั้นตอนการวิจัยเริ่มจากผลิตบล็อกประสานด้วยดิน ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 และน้้า จากนั้นปรับปรุงสมบัติด้วยวัสดุชีวภาพเหลือทิ้ง 5 ชนิด คือ กระดาษเหลือทิ้ง ขุยมะพร้าว ฟาง แกลบ และแกลบละเอียด ทดสอบสมบัติตามมาตรฐาน มอก.109-2517 ประกอบด้วย การดูดกลืนน้้า ความหนาแน่นแห้ง และความต้านแรงอัด จากการทดสอบพบว่า บล็อกประสานที่ปรับปรุงด้วยแกลบละเอียดด้วยอัตราส่วนโดยน้้าหนักของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทที่ 1 : ดิน : แกลบละเอียด เท่ากับ 1:2:0.5และปริมาณความชื้น 14.29% เป็นตัวอย่างที่มีสมบัติตามมาตรฐานประเภทอิฐบล็อกประสาน ชนิดไม่รับน้้าหนัก โดยมีความต้านแรงอัด 3.6 เมกะปาสคาลมีการดูดกลืนน้้า 245 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความหนาแน่นแห้ง 1,286 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยมีน้้าหนักน้อยกว่าบล็อกประสาน 27.06% จากผลวิจัยสรุปได้ว่าการปรับปรุงสมบัติของบล็อกประสานด้วยแกลบละเอียดท้าให้บล็อกประสานมีน้้าหนักเบา สามารถใช้เป็นวัสดุก่อตามเกณ์์มาตรฐาน และเหมาะสมที่จะพัฒนาให้เป็นวัสดุก่อสร้างประหยัดพลังงานต่อไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-07
สาขาของบทความ
วิศวกรรมวัสดุก่อสร้าง

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้