การศึกษาผลกระทบจากแรงแผ่นดินไหวต่อถังกักเก็บของเหลวหน้าตัดรูปวงกลม

  • จีรุจ บ่างตระกูลนนท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นคร ภู่วโรดม ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ถังน้ำต้านแผ่นดินไหว, การกระเพื่อมของของเหลว, แผ่นดินไหว, การวิเคราะด้วยวิธีประวัติเวลา

บทคัดย่อ

ถังกักเก็บของเหลวหน้าตัดรูปวงกลมขนาดใหญ่เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานที่ส าคัญในกิจการการประปา ในประเทศไทยโครงสร้างดังกล่าวจำนวนมาก ถูกก่อสร้างมาก่อนที่จะมีการเริ่มใช้ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหว งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบจากแรงสั่นสะเทือนเนื่องจากแผ่นดินไหว ต่อถังกักเก็บของเหลวหน้าตัดรูปวงกลมดังกล่าว โดยการศึกษานี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 เป็นการสร้างแบบจำลองโดยใช้โปรแกรมที่มีความสามารถ ในการวิเคราะห์ทางไฟไนต์วอลุม (Finite Volume Method, FVM) คู่ควบกับวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ (Finite Element Method, FEM) เพื่อหาแรงที่เกิดจาก
การกระเพื่อมของของเหลว (Sloshing) ส่วนที่ 2 วิเคราะห์แรงที่เกิดขึ้นจากการกระเพื่อมของของเหลว (Sloshing) โดยใช้โปรแกรมไฟไนต์เอลิเมนต์เพื่อประเมินกำลังต้านทาน (Capacity) ที่เกิดขึ้น สำหรับข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหวที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้น เป็นข้อมูลประวัติเวลาความเร่งของพื้นดิน (Ground Acceleration Time History) ตามมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ. 1301/1302-61) ในพื้นที่โซน 5 โดยใช้คลื่นแผ่นดินไหวที่ผิวดินที่คาบการสั่นของอาคารเท่ากับ 0.2 วินาที 0.5 วินาที และ 3.0 วินาที ซึ่งการศึกษาการวิเคราะห์โครงสร้างถังน้ าภายใต้แรงกระท าจากแผ่นดินไหว โดยการประยุกต์ใช้ไฟไนต์วอลุมเพื่อหาแรงที่เกิดจากการกระเพื่อมของของเหลวนั้น เป็นการน าผลการวิเคราะห์ที่ได้เพื่อใช้ในการประเมิน
ความปลอดภัยของโครงสร้างจากการตอบสนองเนื่องจากแผ่นดินไหว

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-20
สาขาของบทความ
วิศวกรรมโครงสร้าง