การใช้วัสดุ Expanded Polystyrene Geofoam (EPS) เพื่อลดการทรุดตัวของคันทางและคอสะพานในประเทศไทย
คำสำคัญ:
วัสดุมวลเบา, การทรุดตัวที่แตกต่าง, เสาเข็มผ่อนความยาว, Bearing Unit, Expanded Polystyrene Geofoam (EPS)บทคัดย่อ
ทางหลวงที่สร้างในบริเวณดินอ่อนกรุงเทพฯ (Bangkok clay) พบว่า มีการยุบอัดตัวสูงเมื่อรับน้ำหนักบรรทุก ในงานก่อสร้างทางหลวงมีสิ่งก่อสร้าง 2 ชนิดประกอบด้วย โครงสร้างชั้นทาง และโครงสร้างสะพาน ซึ่งส่วนมากจะพบปัญหาการทรุดตัวที่แตกต่างกัน (Differential Settlement) ทำให้ความสะดวกสบายในการขับขี่ของผู้ใช้ทางลดลง การใช้โครงสร้างเสาเข็มผ่อนความยาว (Bearing Unit) เป็นหนึ่งในวิธีปรับลดการทรุดตัวที่แตกต่างระหว่างโครงสร้างทั้งสองชนิดนี้ แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถาวร เนื่องจากปัญหาคันทางที่ก่อสร้างบริเวณดินเหนียวอ่อนมีการทรุดตัวอย่างต่อเนื่อง และมักถูกเสริมผิวด้วยการใช้ Asphalt Overlay อย่างต่อเนื่อง แต่ก็เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างทำให้อัตราการทรุดตัวยิ่งมากขึ้น ทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณในการช่อมบำรุงแต่ละปีเป็นจำนวนมาก การใช้วัสดุ Expanded Polystyrene Geofoam (EPS) เป็นทางเลือกหนึ่งในการลดการทรุดตัวบริเวณคอสะพาน บทความนี้ได้นำเสนอกรณีศึกษาในการใช้วัสดุ EPS ในการลดอัตราการทรุดตัวบริเวณคอสะพานได้อย่างมีนัยสำคัญ การวิเคราะห์ความเชื่อมั่น (Reliability) ของการใช้วัสดุ EPS ในสถานการณ์ต่างๆ การวิเคราะห์มีความคุ้มค่าในการลงทุน การลดมลพิษจากการเผาผลาญพลังงานจากการขนส่งและการใช้เครื่องจักรงานทางในการบดอัดวัสดุคันทางเปรียบเทียบกับวัสดุ EPS รวมถึงการลดโอกาสในการเกิดความเสียหายต่อทางหลวงที่ต้องขนวัสดุงานทางผ่านและการลดระยะเวลาในการก่อสร้างได้อีกด้วย
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์