การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในประเทศไทยที่มีต่อธุรกิจผู้ให้บริการทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

  • ธนวัฒน์ เดชปรอท บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จํากัด (มหาชน)
คำสำคัญ: การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร, สังคมสูงวัย, ธุรกิจผู้ให้บริการทางพิเศษ

บทคัดย่อ

ตั้งแต่งแต่ปีพ.ศ.2543 ประเทศไทยได้พบความท้าทายในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ จากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัย จากการศึกษา พบว่า ในปี พ.ศ.2575 คนไทยจะเข้าสู่วัยเกษียณ หรือมีอายุมากกว่า 65 ปี มากถึง 20% ของจำนวนประชากรและจะขยับเพิ่มสูงขึ้นเป็น 30% ในปี พ.ศ.2593 ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการทางพิเศษทั้งในด้านความต้องการใช้ทางพิเศษ และรูปแบบการให้บริการเพราะสัดส่วนของผู้สูงอายุที่มากขึ้น ย่อมหมายถึงสัดส่วนของประชากรวัยทำงานและวัยเรียนซึ่งเป็นผู้ใช้ทางพิเศษส่วนใหญ่ที่ลดลง และกิจกรรมการเดินทางโดยใช้ทางพิเศษที่จะเปลี่ยนแปลงไป เช่น การเดินทางไปทำงาน เรียนหนังสือ ติดต่อธุรกิจ ท่องเที่ยว กลับภูมิลำเนา ทั้งในแง่จำนวน วันและช่วงเวลาในการเดินทางของแต่ละช่วงวัย การศึกษานี้จึงมุ่งเน้นการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรต่อธุรกิจผู้ให้บริการทางพิเศษ ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เพื่อศึกษาช่วงอายุของกลุ่มผู้ใช้บริการทางพิเศษ และกิจกรรมการเดินทางจากผลการสำรวจจำนวนจาก 2,237 ตัวอย่าง ก่อนนำมาคาดการณ์การเติบโตของปริมาณจรจรบนทางพิเศษในอนาคต เพื่อใช้วางแผนพัฒนาการให้บริการทางพิเศษได้อย่างเหมาะสม และนำเสนอแนวทางในการปรับตัวให้ผู้ประกอบการธุรกิจผู้ให้บริการทางพิเศษสามารถตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยในอนาคตได

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด

ประวัติผู้แต่ง

ธนวัฒน์ เดชปรอท, บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จํากัด (มหาชน)

วิศวกรวิจัยและพัฒนา, บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : BEM

เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์