ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทางไปโรงเรียนของเด็กนักเรียน
คำสำคัญ:
การเลือกรูปแบบการเดินทาง, การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคพหุกลุ่ม, จังหวัดลำพูน, เด็กนักเรียนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทางไปโรงเรียนของเด็กนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่งในอำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน สำรวจข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ได้รับการตอบกลับจากผู้ปกครองทั้งสิ้น 231 คน พบว่าพฤติกรรมการเดินทางไปโรงเรียนในปัจจุบันคือ นักเรียนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.3 เดินทางไปโรงเรียนโดยรถรับส่งนักเรียน รองลงมาเป็นรถยนต์ส่วนตัวและรถจักรยานยนต์ส่วนตัว ร้อยละ 29.0 และ 17.3 ตามลำดับ มีเพียงร้อยละ 0.4 เท่านั้นที่ใช้การเดิน เหตุผลหลักที่ผู้ปกครองเลือกใช้รถรับส่งนักเรียนคือ ไม่มีเวลารับส่งบุตร ส่วนของรถยนต์และรถจักรยานยนต์ส่วนตัวคือ เป็นการเดินทางที่ปลอดภัย จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติคพหุกลุ่ม พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกรูปแบบการเดินทางไปโรงเรียน ได้แก่ ระยะทางในการเดินทาง ระยะเวลาในการเดินทาง จำนวนรถยนต์ในครอบครองและการมีใบอนุญาตขับรถยนต์ จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด พบว่ามีนักเรียนเพียงร้อยละ 7.8 เท่านั้นที่อาศัยอยู่ในระยะทางที่สามารถเดินหรือปั่นจักรยานไปโรงเรียนได้ โดยผู้ปกครองในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ใช้ รถจักรยานยนต์ส่วนตัวในการส่งบุตรหลานไปโรงเรียน มีผู้ปกครองในกลุ่มนี้เพียงร้อยละ 16.7 เท่านั้นที่อนุญาตให้เด็กเดินหรือปั่นจักรยานไปโรงเรียนได้ในปัจจุบัน เหตุผลหลักที่ไม่อนุญาตคือ รู้สึกไม่ปลอดภัย
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์