การทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องรับสัญญาณจีเอ็นเอสเอสแบบยีออเดติก ที่มีเซนเซอร์ MEMS และ IMU โดยวิธีการโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ในทันท

  • จิตรานุช พัสดุธาร ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • พุทธิพล ดำรงชัย
  • เฉลิมชนม์ สถิระพจน์
คำสำคัญ: MEMS, IMU, การรังวัดโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ในทันที, รังวัดขณะเอียงเสา (pole)

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดสอบประสิทธิภาพเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมจีออเดติกจีเอ็นเอสเอสที่มีเซนเซอร์ MEMS และ IMU ในการกำหนดตำแหน่งทางราบและทางดิ่งเมื่อรังวัดขณะเอียงเสาเครื่องรับด้วยมุม 15°, 25°, 35° และ 45° โดยวิธีการรังวัดโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ในทันที กรณีแรกทดสอบในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุม โดยการทดสอบเครื่องรับจีเอ็นเอสเอสในพื้นที่เปิดโล่งและบนดาดฟ้าอาคาร ซึ่งจุดทดสอบอยู่ห่างจากผนัง 2 เมตร กรณีที่สองทดสอบบนหมุดหลักเขตที่ดิน การทดสอบนี้แบ่งออกเป็น 3 กรณีย่อยคือ (1) ใกล้กำแพงที่มีสภาพแวดล้อมเปิดโล่ง (2) ใกล้กำแพงที่มีสภาพแวดล้อมหนาแน่นและ (3) สภาพแวดล้อมที่มีต้นไม้หนาแน่น กรณีที่สามดำเนินการทดสอบบนหมุดดาวเทียม VRS ของกรมที่ดิน ซึ่งทดสอบเก็บข้อมูลทั้งหมด 20 จุดต่อกรณี รวมเป็น 120 จุด โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และเปรียบเทียบความถูกต้องระหว่างค่าพิกัดอ้างอิงกับเครื่องรับจีเอ็นเอสเอสที่มีเซนเซอร์ MEMS และเซนเซอร์ IMU การเปรียบเทียบความถูกต้องนั้น ทำการเปรียบเทียบค่าพิกัดทั้งทางราบและทางดิ่ง จากการศึกษาพบว่าเครื่องรับจีเอ็นเอสเอสที่มีเซนเซอร์ IMU ให้ผลลัพธ์ในการกำหนดตำแหน่งถูกต้องกว่าเครื่องรับที่มีเซนเซอร์ MEMS สำหรับพื้นที่เปิดโล่งที่มีสัญญาณชัดเจนและสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งบดบัง ซึ่งเครื่องรับจีเอ็นเอสเอสที่มีเซนเซอร์ IMU ให้ความถูกต้องในการกำหนดตำแหน่งทางราบดีกว่า 4 เซนติเมตรเมื่อเอียงเสาที่ 15° และ 25° นอกจากนี้ยังพบว่า มุมการวัดเมื่อเอียงเสาส่งผลต่อความถูกต้องในการกำหนดตำแหน่งทางราบ แต่ไม่ส่งผลโดยตรงต่อความถูกต้องในการกำหนดตำแหน่งทางดิ่ง ความถูกต้องในการกำหนดตำแหน่งทั้งทางราบและทางดิ่งขึ้นอยู่กับสิ่งกีดขวางรอบจุดทดสอบ สุดท้ายนี้สำหรับงานวิจัยในอนาคตควรมีการเปรียบเทียบความถูกต้องการกำหนดตำแหน่งทางราบและทางดิ่ง ในขณะที่เสาเอียงกับเครื่องรับจีเอ็นเอสเอสยี่ห้อต่างๆ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
How to Cite
[1]
พัสดุธารจ., ดำรงชัยพ., และ สถิระพจน์เ., “การทดสอบประสิทธิภาพของเครื่องรับสัญญาณจีเอ็นเอสเอสแบบยีออเดติก ที่มีเซนเซอร์ MEMS และ IMU โดยวิธีการโครงข่ายดาวเทียมแบบจลน์ในทันท”, ncce27, ปี 27, น. SGI16-1, ก.ย. 2022.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมสำรวจและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้