การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในการติดตั้งระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าปะเภทสำนักงาน ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ระบบออนกริด และไฮบริด กรณีศึกษา: อาคารพาณิชย์ขนาด 1,600 ตารางเมตร

  • กระจ่าง ปลื้มกมล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
  • ผศ. ดร. วัชระ สัตยาประเสริฐ
คำสำคัญ: ปัจจัยสำคัญ, ทางเลือกการตัดสินใจ, ผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

บทคัดย่อ

ในการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของต้นทุน และผลตอบแทน การเปรียบเทียบแต่ละปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ข้อสมมติฐานในการวิเคราะห์แบ่งออกเป็น 8 ทางเลือก คือ ระบบออนกริดขนาด (a1-40KW), (a2-50KW), (a3-60KW), (a4-70KW) ตามลําดับ และระบบไฮบริดขนาด (a5-90KW), (a6-110KW), (a7-110KW), (a8-120KW) ตามลําดับ กรณีศึกษา อาคารพาณิชย์ขนาด 1,600 ตารางเมตร โดยวิเคราะห์ทางการเงินของโครงการด้วยเครื่องมือคือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) , อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ,ระยะเวลาคืนทุน (PB), อัตราส่วนของผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C), ค่าของทุน ใช้เป็นอัตราลดค่า 7% รวมถึงการวิเคราะห์ความอ่อนไหว ปัจจัยด้านความเสี่ยง และปัจจัยด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยใช้แบบสอบถามแบ่งออก 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนที่ 2 ข้อมูลด้านปัจจัยใดที่มีความสําคัญที่สุดในการตัดสินใจติดตั้งโซลาร์เซลล์โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้ ELECTRE ll มาช่วยในการวิเคราะห์ลําดับความสําคัญด้วยการพิจารณา เปรียบเทียบทีละคู่จากผลต่างของค่าดัชนีความสอดคล้องร่วมถึงความไม่สอดคล้องของทางเลือกที่ได้เปรียบระบุว่าความสัมพันธ์ทางเลือกนั้นเป็นการเหนือกว่ากันอย่างหนักแน่นและเหนือกว่ากันอย่างไม่หนักแน่น สรุปลําดับความสําคัญของทางเลือกเหมาะสมที่สุด คือทางเลือก (a4-70KW), (a3-60KW), (a2-50KW), (a1-40KW), (a5-90KW), (a6-110KW), (a7-110KW), (a8-120KW) ตามลําดับ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2022-09-19
How to Cite
[1]
ปลื้มกมลก. และ สัตยาประเสริฐผ. ด. ว., “การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนในการติดตั้งระบบการผลิตกระแสไฟฟ้าปะเภทสำนักงาน ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ระบบออนกริด และไฮบริด กรณีศึกษา: อาคารพาณิชย์ขนาด 1,600 ตารางเมตร”, ncce27, ปี 27, น. CEM21-1, ก.ย. 2022.
สาขาของบทความ
วิศวกรรมการบริหารงานก่อสร้าง