การกำหนดโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จุติพงศ์ พาราพันธกุล
  • ณรงค์ คู่บารมี
  • ทวีศักดิ์ ปานจันทร์

คำสำคัญ:

โครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญ, , ลิงค์แอนด์เพลส, การกำหนดประเภทถนน, โครงข่ายถนน

บทคัดย่อ

การศึกษาของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ รายงานว่าประเทศไทยมีถนนที่อยู่ในเกณฑ์ดี ครอบคลุมทั่วถึงทั้งประเทศ เป็นระยะทาง 470,049 กม. จนถือได้ว่าไม่มีโครงข่ายที่ขาดหายไป จึงมีความจำเป็นน้อยลงในการพัฒนาถนนโดยการตัดถนนใหม่เพิ่ม อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการถนนยังขาดเอกภาพ ทำให้โครงข่ายถนนขาดความเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ ถนนบางช่วงมีการพัฒนาเฉพาะในขอบเขตการดูแลรับผิดชอบของหน่วยงานในท้องถิ่น ส่งผลให้ถนนไม่ได้มีสภาพที่ดีตลอดเส้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนที่เป็นโครงข่ายสายรอง โดยแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับที่ 3 พ.ศ. ... (แผนฯ 3) ที่อยู่ระหว่างการยกร่างฯ ได้กำหนดขอบเขตการเชื่อมโยงของถนนตามขอบเขตการปกครอง อย่างไรก็ตามแนวทางดังกล่าวอาจไม่ครอบคลุมการเชื่อมโยงจุดหมายปลายทางที่สำคัญ ดังนั้นการกำหนดโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญจึงควรพิจารณาการเชื่อมโยงพื้นที่ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ แนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวสามารถทำได้โดยการกำหนดสายทางแบบลำดับชั้น (Road Hierarchy) ซึ่งแบ่งประเภทของถนนตามลักษณะการใช้งานเป็นลำดับชั้น เพื่อให้การพัฒนาถนนสอดคล้องกับความต้องการเดินทางและเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้การศึกษานี้ได้ประยุกต์ใช้การกำหนดประเภทถนนแบบ Link & Place โดยจำแนกถนนตามบทบาทหน้าที่ใน 2 มิติ คือ การรองรับเคลื่อนที่ของยานพาหนะ (ลิงค์) และการสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่รอบข้าง (เพลส) ซึ่งกำหนดเส้นทางโครงข่ายถนนเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ถนนระดับประเทศ ระดับภูมิภาค ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และระดับตำบล โดยดำเนินการวิเคราะห์ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และสุรินทร์ พร้อมสัมภาษณ์หน่วยงานในพื้นที่เพื่อสอบถามความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายถนนที่คัดเลือก ซึ่งผลการศึกษาพบว่าถนนที่ควรพัฒนาเป็นโครงข่ายสายรองนั้นปัจจุบันร้อยละ 53 เป็นของกรมทางหลวงชนบท และร้อยละ 46 เป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยถนนดังกล่าวมีลักษณะการเชื่อมโยงระดับจังหวัดเหมาะสมที่จะพัฒนาเป็นโครงข่ายถนนสายรองที่สำคัญของประเทศ

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2022-09-19

ฉบับ

บท

วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์

##plugins.generic.recommendByAuthor.heading##