การปรับปรุงคุณภาพดินลูกรังด้วยกากแคลเซียมคาร์ไบด์ในอัตราส่วนร้อยละที่แตกต่างกัน
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาการรับกำลังรับแรงอัดของดินลูกรังที่ผสมด้วยกากแคลเซียมคาร์ไบด์ ซึ่งเป็นขยะจากอุตสาหกรรมจากการผลิตก๊าซอะเซทิลีน เพื่อเป็นการลดขยะและนำกลับมาใช้ใหม่ โดยผสมในอัตราส่วนร้อยละ 0 ถึงร้อยละ 12 ตามลำดับซึ่งมีปัจจัยที่มีผลต่อกำลังรับแรงอัดได้แก่ ปริมาณกากแคลเซียมคาร์ไบด์ กำลังแรงอัด ปริมาณน้ำ และระยะเวลาในการบ่มของตัวอย่าง โดยนำมาทดสอบด้วยวิธีบดอัดแบบมาตรฐาน (Standard Proctor Test) ผลการทดสอบการรับแรงอัดของดินโดยปราศจากแรงด้านข้าง ดินที่นำมาผสมกากแคลเซียมคาร์ไบด์ร้อยละ 0 มีกำลังแรงอัดที่ 2.969 ksc ร้อยละ 2 มีกำลังรับแรงอัดที่ 3.248 ksc ร้อยละ 4 มีกำลังรับแรงอัด 4.303 ksc ร้อยละ 6 มีกำลังรับแรงอัด 4.508 ksc ร้อยละ 8 มีกำลังรับแรงอัด 4.710 ksc ร้อยละ 10 มีกำลังรับแรงอัด 4.418 ksc ร้อยละ 12 มีกำลังรับแรงอัด 4.390 ksc โดยดินที่ผสมกากแคลเซียมคาร์ไบด์และมีกำลังรับแรงอัดโดยปราศจากแรงด้านข้างสูงที่สุด คือร้อยละ 8 โดยมีกำลังรับแรงอัดที่ 4.710 ksc และมีการรับกำลังสูงขึ้นจากดินลูกรังที่ไม่ได้ผสมกากแคลเซียมคาร์ไบด์ถึงร้อยละ 58.639
Copyright (c) 2022 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์