การเปลี่ยนแปลงความจุของทางแยก กรณีมีการใช้ยานยนต์ไร้คนขับ
คำสำคัญ:
ความจุทางแยก, ค่าปรับแก้ความจุ, แบบจำลองจราจรระดับจุลภาค, โปรแกรม PTV VISSIMบทคัดย่อ
ยานยนต์ไร้คนขับเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะก้าวเข้ามามีบทบาทอย่างมากในประเทศไทย การศึกษาความจุทางแยกที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นสิ่งสำคัญเนื่องจากเป็นตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของโครงสร้างพื้นฐานทางถนนในการรองรับการใช้งานยานยนต์ไร้คนขับ คณะผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลจราจรบริเวณทางแยกนาหลวง ในเขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และสร้างแบบจำลองสภาพการจราจรระดับจุลภาคด้วยโปรแกรม PTV Vissim เพื่อหาค่าความจุทางแยกในสถานการณ์ปกติและสถานการณ์ที่มีการใช้ยานยนต์ไร้คนขับในสัดส่วนร้อยละ 5 20 60 และ 100 ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคล จากนั้นนำค่าความจุทางแยกในแต่ละสถานการณ์ไปหาค่าปรับแก้ความจุ ผลการวิจัยพบว่า ความจุของทางแยกจะแปรผันตรงกับสัดส่วนของยานยนต์ไร้คนขับ และค่าปรับแก้ความจุของทางแยกมีค่ามากกว่า 1 ทุกสถานการณ์ที่มีการใช้งานยานยนต์ไร้คนขับ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อสัดส่วนของยานยนต์ไร้คนขับเพิ่มขึ้น ค่าปรับแก้ความจุของทางแยกนาหลวงจะเพิ่มถึง 1.219 หรือมีค่าความจุเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 21.9 ของความจุเดิมเมื่อมีการใช้ยานยนต์ไร้คนขับแทนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลทั้งหมด
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 27 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์