การประมาณราคาก่อสร้างอาคารประเภทงานราชการโดยใช้เทคนิคการสร้างแบบจำลองพยากรณ์

ผู้แต่ง

  • สิทธิกร สิทธิการกูล ภาควิชาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น, แบบจำลองการประมาณราคาก่อสร้าง, ประมาณราคาก่อสร้าง

บทคัดย่อ

จากการหดตัวลงของอุตสาหกรรมการก่อสร้างโดยรวมในประเทศนั้นทำให้การแข่งขันในการประมูลงานนั้นจำเป็นต้องมีความแม่นยำในการเสนอราคาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการขาดทุนจากการเสนอราคาที่ต่ำเกินไปในขั้นตอนของการประมูลงาน ทั้งการประมูลงานในส่วนภาคเอกชนหรือในภาครัฐ อย่างไรก็ตามก่อนการประประมูลงานนั้นผู้เข้าร่วมการประมูลงานต้องมีการประมาณราคาก่อสร้างก่อนการประมูลงาน โดยวิธีในการประมาณราคาก่อสร้างนั้นสามารถแบ่งได้ 2 วิธีที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ การประมาณราคาก่อสร้างอย่างหยาบ ที่มีจุดเด่นคือสามารถทำการประมาณราคาค่าก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว มีจุดด้อยคือความคลาดเคลื่อนในราคาสูง และการประมาณราคาก่อสร้างอย่างละเอียด มีจุดเด่นคือสามารถทำการประมาณราคาก่อสร้างได้แม่นยำมากกว่า มีจุดด้อยคือแบบแปลนต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์ และใช้เวลาในการประมาณราคาก่อสร้างที่มาก เมื่อพิจารณาถึงจุดด้อยของวิธีการประมาณราคาก่อสร้างทั้ง 2 วิธีจึงเกิดการวิจัยสร้างแบบจำลองการประมาณราคาก่อสร้างงานราชการโดยใช้เทคนิคการสร้างแบบจำลองพยากรณ์ โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น มีตัวแปรทั้งสิ้น 11 ตัว คือ 1) ขนาดพื้นที่ใช้สอยของอาคาร 2) เส้นรอบรูปเฉลี่ย 3) ความสูงระหว่างชั้นเฉลี่ย 4) ความสูงของอาคาร 5) จำนวนชั้น 6) พื้นที่หลังคา 7) ขนาดห้องน้ำ 8) พื้นที่วางบนดิน 9) พื้นที่ช่องเปิด 10) รูปแบบของวัสดุมุงหลังคา 11) ประเภทของโครงสร้างพื้น เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้ผู้เข้าร่วมการประมูลงานภาครัฐจะสามารถลดช่วงความคลาดเคลื่อน และใช้ระยะเวลาในการประมาณราคาก่อสร้างน้อย ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-23

วิธีการอ้างอิง

สิทธิการกูล ส. (2021). การประมาณราคาก่อสร้างอาคารประเภทงานราชการโดยใช้เทคนิคการสร้างแบบจำลองพยากรณ์. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, CEM-13. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/986