การวิเคราะห์แผ่นดินไหวของโครงสร้างทางรถไฟฟ้ายกระดับต่อแรงกระทำแผ่นดินไหวโดยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบ 2 มิติ และ 3 มิติในโดเมนเวลา

ผู้แต่ง

  • วัชรวีร์ วัฒนาดิลกกุล ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

คำสำคัญ:

ทางรถไฟฟ้ายกระดับ, แผ่นดินไหว, การตอบสนองต่อแผ่นดินไหว, แรงดันน้ำส่วนเกินในโพรงดิน

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการนำเสนอผลของการตอบสนอง เช่น ระยะเคลื่อนที่ ความเร็ว และความเร่ง ของตัวโครงสร้างทางรถไฟฟ้ายกระดับรวมทั้งแรงดันน้ำส่วนเกินในโพรงดินต่อแรงกระทำแผ่นดินไหวในโดเมนเวลาโดยใช้ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบ 2 มิติ และ 3 มิติ แบบจำลองของชั้นดินฐานรากยืดหยุ่นและแบบชั้นดินฐานรากแข็งถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ โดยฐานรากยืดหยุ่นเท่านั้นที่ได้มีการพิจารณาแรงดันน้ำส่วนเกินในโพรงดิน ผลของการตอบสนองที่ได้จากแบบจำลองที่ใช้ฐานรากยืดหยุ่นจะมีค่ามากกว่าผลของการตอบสนองที่ได้จากแบบจำลองที่ใช้กับฐานรากแข็งทั้งในแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ นอกจากนั้นแล้วผลจากการวิเคราะห์ของแบบจำลอง 2 มิติ และ 3 มิติ จะถูกนำมาเปรียบเทียบเพื่อศึกษาความแตกต่าง

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

วัฒนาดิลกกุล ว. (2021). การวิเคราะห์แผ่นดินไหวของโครงสร้างทางรถไฟฟ้ายกระดับต่อแรงกระทำแผ่นดินไหวโดยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์แบบ 2 มิติ และ 3 มิติในโดเมนเวลา. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, INF-05. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/972