การประเมินประสิทธิภาพของพารามิเตอร์คิวมูลัสจากแบบจำลองคาดการณ์สภาพอากาศระยะสั้น WRF สำหรับการคาดการณ์อากาศชั้นบน

ผู้แต่ง

  • รติ สว่างวัฒนไพบูลย์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
  • สุภลักษณ์ วิมาลา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
  • จิราวรรณ คำมา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
  • กนกศรี ศรินนภากร สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

คำสำคัญ:

การกำหนดพารามิเตอร์คิวมูลัส, แบบจำลองคาดการณ์อากาศระยะสั้น WRF, อากาศชั้นบน

บทคัดย่อ

การคาดการณ์อากาศชั้นบน (อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ความเร็วลม และทิศทางลม) โดยใช้แบบจำลองคาดการณ์สภาพอากาศระยะสั้น (Weather Research and Forecasting: WRF) จำเป็นต้องกำหนดรูปแบบพารามิเตอร์คิวมูลัส บทความนี้ได้ทำการศึกษาการประเมินประสิทธิภาพของพารามิเตอร์คิวมูลัส 3 แบบ ได้แก่ Betts-Miller-Janjic Scheme (BMJ), Grell 3D Ensemble Scheme (G3), และ Non-Cumulus Scheme เมื่อใช้กับแบบจำลอง WRF ที่ความละเอียด 3 × 3 กิโลเมตร คาดการณ์อากาศชั้นบนบริเวณประเทศไทย ในช่วงพายุโซนร้อนเซินกา เมื่อวันที่ 26-28 กรกฎาคม 2560 โดยเปรียบเทียบกับข้อมูลตรวจวัดสภาพอากาศชั้นบนจากกรมฝนหลวงและการบินเกษตรจำนวน 4 สถานี ที่ความกดอากาศ 1000-100 เฮคโตปาสกาล (Hectopascal: hPa) เวลา 00 UTC ความแม่นยำของการคาดการณ์วัดด้วยค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่ารากที่สองของค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (Root Mean Square Error: RMSE) ซึ่งผลการวิเคราะห์ความแม่นยำเมื่อคาดการณ์ด้วยแบบจำลอง WRF ที่ใช้พารามิเตอร์คิวมูลัสทั้งสามแบบพบว่า การคาดการณ์อุณหภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์ ที่ใช้พารามิเตอร์คิวมูลัส G3 ให้ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สันและค่า RMSE ดีที่สุด ซึ่งก็คือผลการคาดการณ์ใกล้เคียงกับข้อมูลตรวจวัดมากที่สุด และสำหรับตัวแปรความเร็วลม และทิศทางลม การใช้พารามิเตอร์ Non-Cumulus ให้ผลดีที่สุด

 

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ประวัติผู้แต่ง

รติ สว่างวัฒนไพบูลย์, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

 

 

 

สุภลักษณ์ วิมาลา, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

 

 

จิราวรรณ คำมา, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

 

 

กนกศรี ศรินนภากร, สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)

 

 

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

สว่างวัฒนไพบูลย์ ร., วิมาลา ส. ., คำมา จ., & ศรินนภากร ก. . (2021). การประเมินประสิทธิภาพของพารามิเตอร์คิวมูลัสจากแบบจำลองคาดการณ์สภาพอากาศระยะสั้น WRF สำหรับการคาดการณ์อากาศชั้นบน. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, WRE-02. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/967