การพัฒนาระบบจัดการการระบายน้ำสำหรับพื้นที่ชุมชนเมือง ที่มีปัญหาการกีดขวางทางน้ำในลุ่มน้ำกก
บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบจัดการการระบายน้ำสำหรับพื้นที่ชุมชนเมืองที่มีปัญหาการกีดขวางทางน้ำในลุ่มน้ำกก ทำโดยการเก็บข้อมูลรายละเอียดของสาเหตุและสภาพปัญหาจากการกีดขวางทางน้ำในลำน้ำคูคลองและถนนที่กีดขวางทางน้ำพร้อมระบุพิกัดและประเมินระดับความเสี่ยงของแต่ละตำแหน่ง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้านอุทกวิทยาที่ใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการหาปริมาณน้ำหลากสูงสุด ได้แก่ สร้างกราฟความสัมพันธ์ของความเข้ม – ช่วงเวลา – ความถี่ (Intensity – duration – frequency curves) สำหรับพื้นที่แต่ละอำเภอในลุ่มน้ำกก และวิเคราะห์ด้วยหลักความถี่การเกิดโดยพิจารณาทั้งลุ่มน้ำรวม (Regional flood frequency analysis) แล้วนำข้อมูลต่าง ๆ มาวางแนวคิดออกแบบเบื้องต้นการแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับสภาพทางกายภาพของการกีดขวางทางน้ำ โดยผลลัพธ์ที่ได้เป็นแนวคิดและวิธีการเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหาการกีดขวางทางน้ำที่เกิดขึ้นในแต่ละแห่งของพื้นที่ชุมชนเมืองในลุ่มน้ำกก ซึ่งมีตำแหน่งที่มีปัญหาการกีดขวางทางน้ำมีทั้งหมด 75 จุดที่มีระดับความเสี่ยงต่างๆกัน โดยมีสาเหตุของการกีดขวางทางน้ำที่เกิดจากธรรมชาติคิดเป็นร้อยละ 40 และสาเหตุที่เกิดจากมนุษย์คิดเป็นร้อยละ 60 โดยข้อมูลและผลลัพธ์ทั้งหมดถูกจัดเก็บลงในฐานข้อมูลสารสนเทศของระบบจัดการการระบายน้ำ
คำสำคัญ: ระบบจัดการระบายน้ำ, ปัญหาการกีดขวางทางน้ำ, ปริมาณน้ำหลากสูงสุด, ลุ่มน้ำกก
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์