การวางแผนพัสดุคงคลังที่ทดแทนกันได้

  • นพพล รัตนบุรี บัณฑิตวิทยาลัย สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มาโนช โลหเตปานนท์ สถาบันการขนส่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คำสำคัญ: ชิ้นส่วนยานยนต์, พัสดุคงคลัง, พัสดุทดแทนกันได้

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ศึกษารูปแบบการใช้พัสดุชิ้นส่วนยานยนต์ที่ทดแทนกันได้ พัสดุตะกั่วถ่วงล้อรถยนต์ โดยการกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุของมูลค่าพัสดุจากทางเลือกที่ทำให้ต้นทุนการใช้ต่อครั้งถูกที่สุดเพื่อกำหนดนโยบายการสั่งซื้อพัสดุ ด้วยนโยบายการสั่งซื้อคงที่แบบกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ นโยบายการสั่งซื้อคงที่แบบไม่กำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ นโยบายการสั่งซื้อไม่คงที่แบบกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ และ นโยบายการสั่งซื้อไม่คงที่แบบไม่กำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ กำหนดตัวชี้วัดดังนี้ ระดับพัสดุคงคลังสิ้นงวด ระดับการเติมเต็มพัสดุ และต้นทุนรวมของพัสดุ ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการสั่งซื้อคงที่แบบกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ มูลค่าพัสดุคงคลังลดลง 13.99% ระดับการเติมเต็มพัสดุที่ 89.5% และต้นทุนรวมลดลง 5.5% นโยบายการสั่งซื้อคงที่แบบไม่กำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ มูลค่าพัสดุคงคลังลดลง 15.40% ระดับการเติมเต็มพัสดุที่ 91.5% และต้นทุนรวมลดลง 9.1% นโยบายการสั่งซื้อไม่คงที่แบบกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ มูลค่าพัสดุคงคลังลดลง 12.49% ระดับการเติมเต็มพัสดุที่ 96% และต้นทุนรวมลดลง 10.5% และนโยบายการสั่งซื้อไม่คงที่แบบไม่กำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ มูลค่าพัสดุคงคลังลดลง 10.92% ระดับการเติมเต็มพัสดุที่ 94.6% และต้นทุนรวมลดลง 8.5% ดังนั้นนโยบายการสั่งซื้อไม่คงที่แบบกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุสามารถตอบสนองได้ดีที่สุด

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24
สาขาของบทความ
วิศวกรรมขนส่ง จราจรอัจฉริยะ และโลจิสติกส์