การศึกษาถนนทดลองแอสฟัลต์คอนกรีตผสมขยะพลาสติก

  • ทวี แสงสุวรรณโณ
  • ณัฐวิทย์ เวียงยา
  • สกนธ์ พิทักษ์วินัย
  • พิทยุตม์ เจริญพันธุ์ สำนักวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนา กรมทางหลวงชนบท
คำสำคัญ: การออกแบบโครงสร้างชั้นทางเชิงวิเคราะห์, แอสฟัลต์คอนกรีตผสมขยะพลาสติก, โมดูลัสการคืนตัว, ค่าการตอบสนองของโครงสร้างชั้น

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการศึกษาการนำขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้มาทำถนนและศึกษาผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กรมทางหลวงชนบทได้ทดลองนำขยะพลาสติกมาเป็นส่วนผสมของผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต ซึ่งได้ผลที่ดีในห้องปฏิบัติการจึงขยายผลการศึกษาลงสู่ถนนที่มีปริมาณการจราจร น้ำหนักบรรทุกและสภาพแวดล้อมจริง เพื่อศึกษาถึงกระบวนการก่อสร้าง ข้อจำกัดปัญหาอุปสรรคต่างๆและคุณสมบัติทางวิศวกรรมเพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมต่อไป โดยการศึกษาคุณสมบัติทางวิศวกรรม เช่น ค่าการแอ่นตัว (Deflection) ความเค้น (Stress) ความเครียด (Strain) ที่เกิดขึ้นจริงของถนน โดยมีตัวแปรจริงตามธรรมชาติ ทำให้จำเป็นต้องใช้วิธีการออกแบบความหนาโครงสร้างชั้นทางโดยวิธีเชิงวิเคราะห์ (Analytical Method) ซึ่งสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ตัวแปรในการออกแบบจากห้องปฏิบัติการ เช่น คุณสมบัติของวัสดุ เกณฑ์ความเสียหายของวัสดุ ผลการออกแบบโครงสร้างชั้นทางของแปลงทดลองมีชั้นผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต หนา 0.05 เมตร พื้นทางแบบใช้วัสดุเดิมปรับปรุงคุณภาพความหนา 0.20 เมตร ได้ทำการก่อสร้างแปลงทดลองสมรรถนะผิวทางที่ถนนสาย สบ.1002 แยกทางหลวงหมายเลข 1 - บ้านสองคอน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ, แก่งคอย จังหวัดสระบุรี ช่วงกิโลเมตรที่ 9+175 - 9+855 ปัจจุบันสำนักวิเคราะห์ วิจัยและพัฒนา กรมทางหลวงชนบทได้ใช้เป็นแปลงทดลองเพื่อติดตาม พฤติกรรมและสมรรถนะทางวิศวกรรมต่อไป

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24

แนะนำบทความที่มีผู้เขียนคนเดียวกันกับบทความนี้