การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างตู้รถไฟโดยสารเพื่อการใช้งานบนทางวิ่งขนาด 1.0 เมตรของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พงศกร ภู่หมี ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

โครงสร้างรถไฟ, ตู้รถไฟโดยสาร, วัสดุแซนวิช, โครงประธานรถไฟ, ระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันประเทศไทยมีการลงทุนและพัฒนาระบบขนส่งทางรางทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐานและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวรถไฟ ทั้งนี้ก็เพื่อยกระดับเทคโนโลยีภายในประเทศรวมทั้งช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามการผลิตรถไฟขึ้นเองภายในประเทศยังมีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีในการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างรถไฟให้เหมาะสมกับบริบทของการใช้งานในประเทศ งานวิจัยได้ทำการศึกษาแนวทางการออกแบบโครงสร้างตู้รถไฟโดยสารเพื่อการใช้งานในประเทศไทย ซึ่งให้บริการบนทางวิ่งขนาด 1.0 เมตร โดยการออกแบบจะดำเนินการตามมาตรฐานสากล EN-12663, UIC-518 และมาตรฐานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งจะคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวกับความปลอดภัยต่างๆทั้งในเชิงสถิตย์ (static) และพลวัต (dynamic) และทำการเปรียบเทียบสมรรถนะของรูปแบบโครงสร้างที่ต่างกันคือ แบบ Differential construction และแบบ Hybrid construction ในส่วนของการวิเคราะห์โครงสร้างได้ทำการวิเคราะห์ด้วยระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ทั้งในส่วนของชิ้นส่วนและบริเวณจุดต่อเพื่อตรวจสอบถึงพฤติกรรมของโครงสร้างภายใต้ภาระแรงกระทำต่างๆ โดยผลการศึกษาจะแสดงถึงการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ น้ำหนัก สมรรถนะการใช้งาน รวมไปถึงราคาค่าก่อสร้างของตู้โดยสารรถไฟที่ใช้รูปแบบของโครงสร้างที่ต่างกัน ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบและผลิตตู้รถไฟที่เหมาะสมต่อการใช้งานในประเทศไทยต่อไป

 

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

ภู่หมี พ. (2021). การวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างตู้รถไฟโดยสารเพื่อการใช้งานบนทางวิ่งขนาด 1.0 เมตรของประเทศไทย. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, INF-03. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/900