แบบจำลองเพื่อศึกษาความสามารถการเป็นฉนวนกันความร้อนของหลังคาเขียว
คำสำคัญ:
หลังคาเขียว, ฉนวนป้องกันความร้อน, อุปกรณ์ตรวจวัดความร้อนบทคัดย่อ
การเติบโตของชุมชนเมือง ทำให้พื้นที่สีเขียวมีบริเวณลดน้อยลง และก่อให้เกิดปรากฏการณ์เกาะความร้อน ส่งผลให้มีปริมาณความร้อนเพิ่มสูงขึ้นทั้งภายนอกและภายในอาคาร หลังคาเขียวหรือหลังคาที่มีพืชปกคลุมสามารถช่วยบรรเทาผลกระทบเกาะความร้อนและเป็นฉนวนป้องกันความร้อนจากสภาพอากาศเข้าสู่ตัวอาคาร ประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของหลังคาเขียวนี้อาจเปลี่ยนแปลง ขึ้นกับการเจริญเติบโตของรากในดิน งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนของดินและพืช จากแบบจำลองหลังคาคอนกรีตแบบโมดูล่าร์ โดยคำนึงถึงผลของการเปลี่ยนแปลงจากรากพืชต่อการป้องกันความร้อนของหลังคาเขียว โดยแบบจำลองหลังคา ทำจากคอนกรีตเพื่อจำลองหลังคาชั้นดาดฟ้าของอาคาร และมีการปลูกหญ้าเบอร์มิวด้าอยู่ด้านบนเพื่อจำลองเป็นหลังคาเขียวชนิด Extensive มีการพัฒนาอุปกรณ์สำหรับตรวจวัดค่าอุณหภูมิแบบสามารถเก็บค่าได้จาก Arduino โดยมีวิธีการทดสอบด้วยการตรวจวัดอุณหภูมิบริเวณด้านบนและด้านล่างของหลังคา ทำการทดสอบเพื่อเปรียบเทียบอุณหภูมิความร้อนระหว่างภายในและภายนอกของแบบจำลองโดยเปรียบเทียบระหว่าง 3 กรณีคือ 1.หลังคาคอนกรีต หรือหลังคาชั้นดาดฟ้าของอาคาร, 2.หลังคาคอนกรีตที่มีชั้นดิน โดยมีปริมาณน้ำในดินเปลี่ยนแปลง และ 3.หลังคาเขียว หรือ หลังคาคอนกรีตที่มีชั้นดินและพืชปกคลุมผิวดิน โดยศึกษาช่วงการเจริญเติบโตของพืชที่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาพบว่าหลังคาเขียวสามารถเป็นฉนวนกันความร้อน ลดอุณหภูมิภายในอาคารได้มากกว่าหลังคาคอนกรีตถึง 9 องศาเซลเซียส และพบว่าเมื่อมีปริมาณน้ำในดินเพิ่มสูงขึ้น ความสามารถการเป็นฉนวนป้องกันความร้อนของหลังคาจะมีค่าลดลง
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์