ผลของการใช้เถ้าลอยจากกระบวนการรีดักชันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาต่อสมบัติของซีเมนต์เพสต์ผสมเถ้าลอย

ผู้แต่ง

  • ธีรภัทร์ จงวิจักษณ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ซีเมนต์เพสต์, เถ้าลอยจากกระบวนการรีดักชันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา (selective catalytic reduction),, คุณสมบัติทางกล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อประเมินผลของเถ้าลอยจากกระบวนการรีดักชันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา (Selective Catalytic Reduction, SCR) จากโรงไฟฟ้าทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-7 ต่อคุณสมบัติทางกลของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เมื่อถูกแทนที่ในปริมาณที่ต่างกัน โดยพิจารณาผลเปรียบเทียบกับเถ้าลอยแคลเซียมสูงที่มาจากกระบวนการผลิตไฟฟ้าแบบเก่าของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง ซึ่งในการผสมตัวอย่างใช้อัตราส่วนของน้ำต่อวัสดุประสานเท่ากับ 0.35 และผสมเถ้าลอยในอัตราส่วน 0% 20% 40% และ60% ตามลำดับ การทดสอบประกอบไปด้วย การทดสอบการไหลแผ่,ระยะเวลาก่อตัว,การหาปริมาณความเข้มข้นของแอมโมเนียมของตัวอย่างและการทดสอบกำลังรับแรงอัดและหน่วยน้ำหนักที่อายุ 3, 28 และ 90 วัน นอกจากนี้ยังได้ทำการหาองค์ประกอบทางเคมีและลักษณะของโครงสร้างทางจุลภาคของตัวอย่างประกอบด้วย จากการทดสอบพบว่า ซีเมนต์เพสต์ที่ผสมกับเถ้าลอยจากกระบวนการรีดักชันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา (SCR) มีหน่อยน้ำหนักที่เบากว่า เนื่องจาก อนุภาคของเถ้าลอยมีขนาดใหญ่กว่าและมีความหนาแน่นต่ำกว่า ในส่วนของการทดสอบกำลังอัด พบว่าตัวอย่างที่ผสมด้วยเถ้าลอยจากกระบวนการรีดักชันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา (SCR) มีค่าต่ำกว่าเถ้าลอยแคลเซียมสูงเล็กน้อย เนื่องจากผลของอนุภาคเถ้าลอยที่ใหญ่กว่า ทำให้ช่องว่างในตัวอย่างมากกว่า รวมถึงมีแนวโน้มความเป็นผลึกจากการทำปฏิกิริยาทางเคมีขององค์ประกอบทางเคมีเช่น แคลเซียมซิลิเกต-ไฮเดรตต่ำกว่า ทำให้ได้กำลังที่น้อยกว่า โดยซีเมนต์เพสต์ที่ผสมเถ้าลอยจากกระบวนการรีดักชันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา SCR ที่อัตราการแทนที่ 20 % ที่อายุ 28 วัน มีค่ากำลังอัดสูงสุดเมื่อเทียบกับ 40% และ 60%

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

จงวิจักษณ์ ธ. (2021). ผลของการใช้เถ้าลอยจากกระบวนการรีดักชันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาต่อสมบัติของซีเมนต์เพสต์ผสมเถ้าลอย. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, MAT-07. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/826