การศึกษาพฤษติกรรมทางวิศวกรรมของแอสฟัลต์ซีเมนต์ที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยเกล็ดยางพาราธรรมชาติและน้ำยางพาราธรรมชาติ
คำสำคัญ:
แอสฟัลต์ซีเมนต์, เกล็ดยางพาราธรรมชาติ, น้ำยางพาราธรรมชาติบทคัดย่อ
ระบบการขนส่งเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการสร้างความเจริญเติบโตของประเทศ ซึ่งระบบขนส่งที่เข้าถึงได้ง่ายและใช้งานกันอย่างแพร่หลายก็คือระบบการขนส่งทางบก โดยการใช้รถใช้ถนนในการขนส่ง เมื่อการขนส่งเพิ่มขึ้นทำให้มีความต้องการใช้รถใช้ถนนมากขึ้น มีปริมาณการจราจรสูงขึ้น ทำให้ถนนเกิดการชำรุดตามสภาพการใช้งาน ซึ่งปัจจุบันถนนแอสฟัลต์คอนกรีตในประเทศไทยมีมากว่าถนนคอนกรีตเพราะมีการยืดหยุ่นที่ดีและมีราคาที่ถูกกว่าถนนคอนกรีตแต่จะมีข้อเสียเรื่องการอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิคือจะอ่อนตัวเมื่ออุณหภูมิสูงและจะแตกเมื่ออุณหภูมิต่ำ นอกจากนี้ยังมีปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นและน้ำหนักบรรทุกที่มากกว่าปกติทำให้ผิวถนนแอสฟัลต์ได้รับความเสียหายเร็วกว่าปกติ ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและบำรุงรักษาสูงขึ้น ซึ่งการใช้ยางพาราธรรมชาติที่เป็นทรัพยากรภายในประเทศมาเป็นสารผสมเพิ่ม เพื่อใช้ในงานทางก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะพัฒนาผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต และช่วยส่งเสริมการใช้ยางพาราธรรมชาติภายในประเทศให้มากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบยางพาราธรรมชาติภายในประเทศ เนื่องจากยางพาราธรรมชาติสามารถช่วยปรับปรุงให้ผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีตมีความยืดหยุ่นและมีความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น ทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น อีกทั้งยังใช้ปริมาณแอสฟัลต์ซีเมนต์น้อยลง ทำให้ช่วยลดต้นทุนในการก่อสร้างและการบำรุงรักษาในระยะยาวให้กับประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาเกี่ยวกับพฤษติกรรมทางวิศวกรรมของแอสฟัลต์ซีเมนต์ซึ่งเป็นวัสดุเชื่อมประสานที่ปรับปรุงคุณภาพด้วยเกล็ดยางพาราธรรมชาติและน้ำยางพาราธรรมชาติ โดยกำหนดอัตราส่วน 100:0, 97:3, 95:5 และ 93:7 ซึ่งจะทำการทดสอบ 1) การทดสอบหาค่าเพนิเทรชันตามมาตรฐาน ASTM D5 2) การทดสอบหาจุดอ่อนตัวตามมาตรฐาน ASTM D36 3) การทดสอบหาจุดวาบไฟตามมาตรฐาน ASTM D92 และ 4) การทดสอบความยืดหยุ่นกลับตามมาตรฐาน ASTM D113
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์