ศึกษาประสิทธิภาพโครงการแก้ไขจุดอันตราย (กรณีศึกษา โค้งร้อยศพ จังหวัดเลย)
ศึกษาประสิทธิภาพโครงการแก้ไขจุดอันตราย (กรณีศึกษา โค้งร้อยศพ จังหวัดเลย)
บทคัดย่อ
จากการศึกษา ศึกษาประสิทธิภาพการแก้ไขจุดอันตราย (กรณีศึกษา โค้งร้อยศพ จังหวัดเลย) เป็นประเมินผลการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยบริเวณจุดอันตรายและศึกษาพฤติกรรมผู้ขับขี่บริเวณจุดอันตราย สายทาง ลย.2002 แยกทางหลวงหมายเลข 21 – บ้านนาซำแซง จังหวัดเลย (โค้งร้อยศพ) ซึ่งเป็นถนนที่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้งทำให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านชีวิตและทรัพย์สิน โดย ประเมินผลการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความปลอดภัยได้แก่ อุปกรณ์ ราวลูกกลิ้งป้องกันภัยสาธารณะ (Roller Barrier) ผิวทางประเภท ผิวจราจรพอรัสแอสฟัลติกคอนกรีต (Porous Asphaltic) อุปกรณ์ แบริเออร์คอนกรีตหุ้มยางพารา (Rubber Fender Barrier) เก็บข้อมูลจากการวัดความเสียดทานของผิวทาง การวัดความเร็วในการขับขี่ และสถิติการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบริเวณที่ติดตั้งอุปกรณ์ ศึกษาพฤติกรรมผู้ขับขี่บริเวณจุดอันตรายโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์สรุปได้ว่า ค่าเฉลี่ยความเสียดทานของพื้นที่ศึกษาขณะถนนหลังดำเนินการสูงขึ้น ความเร็วเฉลี่ยในการขับขี่ของพื้นที่ศึกษาหลังดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ ลดลง ร้อยละ 6.9 สถิติเกิดอุบัติเหตุลดลง และพฤติกรรมการขับขี่ ช่วงเวลาใช้ถนนมากที่สุด คือ ช่วงเช้า ร้อยละ 45.00 ความถี่ในการใช้เส้นทางส่วนใหญ่ 4-6 ครั้ง/สัปดาห์ ร้อยละ 50.50 ส่วนใหญ่ใช้ความเร็วในการขับขี่ต่ำกว่า 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ร้อยละ 55.00 ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการติดตั้ง ราวกันอันตราย/แบริเออร์คอนกรีต, ผิวทาง/ไหล่ทาง, ป้ายจราจรในระดับมาก ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิด อุบัติเหตุบนถนน สูงสุดคือ ปัจจัยผู้ใช้ถนน รองลงมาคือ ปัจจัยสภาพแวดล้อม, ปัจจัยถนน และ ปัจจัยยานพาหนะ
จำนวนการดาวน์โหลด
Copyright (c) 2021 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์