การสร้างแบบจำลองเพื่อเพิ่มผลิตภาพในการผลิต : กรณีศึกษางานผลิตสะพานรูปกล่องตัวกลาง

ผู้แต่ง

  • ชิษณุ อัมพรายน์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและการพัฒนาเมือง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

บทคัดย่อ

โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน – นครราชสีมา ช่วง กม. 65+300.000 ถึง กม. 70+085.000 รวมระยะทาง 4.785 กิโลเมตร ใช้รูปแบบสะพานแบบกล่องสำเร็จรูป รวมทั้งสิ้น 622 ชิ้น สะพานรูปกล่องตัวกลางเป็นประเภทที่มีจำนวนชิ้นมากที่สุดเท่ากับ 382 ชิ้น มีขั้นตอนการผลิตจำแนกได้ 9 กิจกรรมย่อย ผลการสำรวจพบว่าระยะเวลาในการผลิตในสภาพปัจจุบันคือ 786 วัน มีค่าผลิตภาพเท่ากับ 0.49 ชิ้นต่อวัน โดยกิจกรรมย่อยที่ 9 คือ การเทคอนกรีต เป็นขั้นตอนที่ความล่าช้ามากที่สุด การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อหาวิธีเพิ่มค่าผลิตภาพของการผลิตสะพานรูปกล่องตัวกลางในกิจกรรมย่อยที่ 9 การเทคอนกรีต ด้วยการจำลองสถานการณ์จากโปรแกรม EZStrobe เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนรถขนส่งคอนกรีต ระยะเวลาในการผลิต และ ค่าใช้จ่ายในการผลิต ผลการจำลองสถานการณ์พบว่าเมื่อใช้รถขนส่งคอนกรีตตั้งแต่ 2 คัน ถึง 4 คัน จะมีค่าผลิตภาพเพิ่มขึ้นเป็น 0.61 0.67 และ 0.69 ชิ้นต่อวัน ตามลำดับ และสามารถลดระยะเวลาผลิตลงได้ 164 216 และ 232 วัน ตามลำดับ

คำสำคัญ: รูปแบบสะพานแบบกล่องสำเร็จรูป, สะพานรูปกล่องตัวกลาง, ค่าผลิตภาพ, ระยะเวลาในการผลิต, ค่าใช้จ่ายในการผลิต

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

อัมพรายน์ ช. (2021). การสร้างแบบจำลองเพื่อเพิ่มผลิตภาพในการผลิต : กรณีศึกษางานผลิตสะพานรูปกล่องตัวกลาง. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, INF-13. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1220