ศึกษาผลของการเลือกใช้วาล์วน้ำล้นและวาล์วส่งน้ำ ต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องตะบันน้ำ
คำสำคัญ:
วาลวน้ำลน, วาลวส่งน้ำ, เครื่องตะบันน้ำบทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการศึกษาผลของการเลือกใช้วาล์วน้ำล้น (Waste valve) และวาล์วส่งน้ำ (Delivery valve) ต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องตะบันน้ำที่ถูกจัดสร้างตามแบบของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในโครงการการผลิตและการใช้งานระบบสูบน้ำเชิงกลสำหรับชุมชน เพื่อใช้เป็นชุดสาธิตให้เกษตรกรโดยเลือกใช้เช็ควาล์วสวิง เช็ควาล์วสปริงและวาล์วหัวกะโหลก เนื่องจากเป็นวาล์วที่เกษตรกรหาซื้อง่ายมีขายตามท้องตลาดทั่วไปและราคาไม่แพง จากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าเครื่องตะบันน้ำนี้จะเริ่มทำงานก็ต่อเมื่อต้องใช้ความสูงของน้ำเหนือทางเข้าไม่น้อยกว่า 1 เมตร สำหรับการศึกษานี้ได้ใช้ความสูงของน้ำเหนือท่อทางเข้าชุดทดสอบ 4.5 เมตร พบว่าการใช้เช็ควาล์วสวิงเป็นทั้งวาล์วน้ำล้นและวาล์วส่งน้ำตามแบบของ สวทช. ให้ค่าประสิทธิภาพสูงสุดเท่ากับ 53% สามารถส่งน้ำได้สูง 12.3 เมตร โดยสูบน้ำส่งได้ 6.66 ลิตรต่อนาที มีอัตราของน้ำที่ล้นออก 14.56 ลิตรต่อนาที แสดงว่าสามารถส่งน้ำได้ 31.38% ของน้ำที่ไหลเข้าเครื่องตะบัน ส่วนการใช้เช็ควาล์วสวิงเป็นวาลวน้ำลนและวาล์วสปริงเป็นวาลวสงน้ำ ให้ค่าประสิทธิภาพการทำงานรองลงมาเท่ากับ 31 % สามารถส่งน้ำได้สูง 9.5 เมตร โดยสูบน้ำส่งได้ 6.2 ลิตรต่อนาที มีอัตราของน้ำที่ล้นออก 23 ลิตรต่อนาที สามารถส่งน้ำได้ 21.23 % ของน้ำที่ไหล ส่วนการใช้วาล์วหัวกะโหลกเป็นวาล์วน้ำล้นพร้อมกับใช้เช็ควาล์วสปริงเป็นวาล์วส่งน้ำจะได้ประสิทธิภาพเท่ากับต่ำที่สุดเพียง 17.95 %
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์