การนำผลงานวิจัยทางด้านผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างมาใช้ประโยชน์ทางวิศวกรรมโยธา กรณีศึกษา การก่อสร้างอาคารพอเพียงอเนกประสงค์

  • ศิรายุ บัวงง ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ศาลายา
คำสำคัญ: มอร์ต้าร์, บล็อกประสาน, อิฐมอญ, กระเบื้องปูพื้นพิมพ์ลาย, แผ่นใยไม้อัดซีเมนต์

บทคัดย่อ

ในโครงงานนี้ได้นำผลงานวิจัยทางด้านผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างมาใช้ประโยชน์ทางด้านวิศวกรรมโยธา โดยได้ดำเนินการ ก่อสร้างอาคารพอเพียงอเนกประสงค์ ขนาด 4.00 x 6.00 เมตร ที่ใช้ผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างหลัก จากผลการศึกษาวิจัยของนักศึกษาที่ผ่านมา จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ มอร์ตาร์ที่ผสมจากฝุ่นหินแกรนิต อิฐมอญดินเหนียวผสมเส้นใยผักตบชวาแห้งบดละเอียด บล็อกประสานจากฝุ่นหินแกรนิต กระเบื้องซีเมนต์ปูพื้นพิมพ์ลายจากฝุ่นหินแกรนิตเหลือทิ้ง และแผ่นใยไม้อัดซีเมนต์จากเส้นใยทะลายปาล์มเปล่า โดยพิจารณาเลือกใช้อัตราส่วนผสมที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินงาน 7 ขั้นตอน ได้แก่ การสำรวจพื้นที่สำหรับการก่อสร้าง การออกแบบอาคารพอเพียงอเนกประสงค์ การเขียนแบบด้วยโปรแกรม AutoCAD 2020 และSketchUp 2020 การประมาณราคาก่อสร้าง การผลิตผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างชนิดต่างๆ สำหรับนำมาใช้ในการก่อสร้างอาคารพอเพียงอเนกประสงค์ โดยผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างที่ผลิตขึ้น ผ่านการทดสอบคุณภาพตามมาตรฐานของแต่ละผลิตภัณฑ์ สามารถนำไปใช้ในการก่อสร้างในโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ของอาคาร ได้เป็นอย่างดี การตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องของอาคารพอเพียงอเนกประสงค์ ที่ได้ก่อสร้างขึ้น โดยใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างรวมทั้งหมด 14 วัน มีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างทั้งหมดเพียง 41,557 บาท เนื่องจากผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างหลัก ที่ใช้ในการก่อสร้าง สามารถผลิตขึ้นได้ด้วยตนเอง โดยวัสดุที่ใช้สำหรับผลิตผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างแต่ละชนิด นั้นเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายโดยทั่วไปและที่เป็นวัสดุเหลือทิ้ง มีขั้นตอนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อน ช่วยให้ประหยัด และลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างได้เป็นอย่างดี

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24