การวิเคราะห์ศักยภาพการรับน้ำท่าต่อต้นทุนค่าก่อสร้างหลังคาเขียว

  • ชวิศ มหาวรรณ สาขาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คำสำคัญ: หลังคาเขียว, ศักยภาพการรับน้ำท่า, แนวทางการจัดการที่ดี (BMP), ต้นทุนค่าก่อสร้าง

บทคัดย่อ

การเจริญเติบโตของเมืองทำให้มีการขยายพื้นที่ของสิ่งปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัยและใช้ดำรงชีวิตเข้ามาแทนที่พื้นที่ทางธรรมชาติ ทำให้พื้นที่ซึมน้ำตามธรรมชาติลดน้อยลง ประกอบกับประเทศไทยตั้งอยู่ในพื้นที่เขตร้อน ภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ในช่วงฤดูฝนจะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดนำเอาความชื้นเข้าพื้นที่ของประเทศไทยทำให้เกิดฝนตกชุกโดยทั่วไป ซึ่งพื้นที่รับน้ำทางธรรมชาติมีปริมาณเท่าเดิมจึงเกิดปัญหาน้ำไหลนอง (Runoff) บริเวณพื้นผิว (Over flow) ในการลดปริมาณน้ำไหลนองนั้นมีแนวคิดการพัฒนาเพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม Low impact development (LID) ที่มีหลากหลายวิธี อาทิเช่น สวนหลังคา (Green roof), สวนแนวตั้ง (Green wall), พื้นผิวน้ำซึมผ่านได้ (Porous paving) รางตื้นซับน้ำ (Infiltration trenches), ปลูกพืชพรรณธรรมชาติในรางน้ำ (Bioretention swales), กักเก็บน้ำด้วยพืชพรรณในบ่อ (Bioretention basins) เป็นต้น ซึ่งงานวิจัยนี้เลือกใช้แนวทางการจัดการเพื่อลดปริมาณน้ำไหลนองด้วยสวนหลังคา (Green roof) เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ดินในการจัดการ ในการพัฒนาพื้นที่สวนหลังคานั้นจะเลือกใช้ชั้นวัสดุที่แตกต่างกัน เป็นวัสดุที่หาง่ายตามท้องตลาดในประเทศไทยและมีราคาไม่แพง เพื่อลดการไหลนองของน้ำ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นที่จะทำการศึกษาและพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับน้ำไหลนอง (Runoff) ในส่วนของสวนหลังคา การศึกษาปริมาณน้ำไหลนองต่อราคาต้นทุนในการวิจัยนี้ สามารถใช้เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจพัฒนาพื้นที่สวนหลังคาอย่างมีประสิทธิภาพ

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-23