การประยุกต์ใช้ข้อมูลการรับรู้ระยะไกลสำหรับการจำแนกการปกคลุมเรือนยอดต้นไม้ในเทศบาลนครนครราชสีมา
คำสำคัญ:
เทคนิคการับรู้ระยะไกล การจำแนกภาพถ่ายดาวเทียม การปกคลุมเรือนยอดต้นไม้บทคัดย่อ
ปัจจุบันการประยุกต์ใช้ข้อมูลระยะไกลในการจำแนกการปกคลุมเรือนยอดต้นไม้ในเมืองได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการประเมินต้นไม้และพื้นที่สีเขียวของเมือง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อประยุกต์ใช้ข้อมูลการับรู้ระยะไกลสำหรับการจำแนกการปกคลุมเรือนยอดต้นไม้ในเทศบาลนครนครราชสีมา โดยมีวิธีการศึกษา คือ (1) การเลือกและเตรียมข้อมูลดาวเทียมจากโปรแกรมกูลเกิลเอิร์นในปี พ.ศ. 2563-2564 (2) การจำแนกการใช้ที่ดินและการปกคลุมเรือนยอดด้วยการแปลตีความด้วยสายตา และ (3) การประเมินความถูกต้องจากภาคสนามและตารางเมตริซ์
ผลการศึกษาพบว่ามีการปกคลุมเรือนยอดต้นไม้ในเทศบาลฯ (พื้นที่เทศบาลฯ ทั้งหมด 37.78 ตร.กม.) ประมาณ 66.48 ตร.กม. (17.14%) โดยพบการปกคลุมเรือนยอดต้นไม้ในพื้นที่ชุมชน 43.12 ตร.กม. พื้นที่เกษตร 15.24 ตร.กม. พื้นที่ป่าไม้ธรรมชาติ 6.11 ตร.กม. และพื้นที่อื่นๆ เช่น ถนน และบริเวณริมขอบน้ำ 2.10 ตร.กม. โดยมีการประเมินความถูกต้องจากภาคสนามประมาณ 81.56% ผลการศึกษาที่ได้นี้จะนำไปใช้เป็นสารสนเทศเชิงพื้นที่สำหรับการพัฒนาเมืองสีเขียวในเทศบาลฯ โดยมีข้อเสนอแนะสำหรับงานต่อไป คือ ควรศึกษาปัจจัยที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ที่ดินและการปกคลุมเรือนยอดต้นไม้
##plugins.generic.usageStats.downloads##
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์