กำลังอัดและการถ่ายเทความร้อนของผนังรับแรงที่ทำจากวัสดุผสม ระหว่างพลาสติกพีวีซีและขี้เลื่อยไม้ที่มีหน้าตัดแตกต่างกัน

ผู้แต่ง

  • ธรัฐ ภาคสัญไชย ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คำสำคัญ:

กำลังอัด, การถ่ายเทความร้อน, รูปแบบหน้าตัดกลวง, วัสดุผสมพลาสติกพีวีซีและขี้เลื่อยไม้, ผนังรับแรง

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษารูปแบบหน้าตัดกลวง ประกอบด้วยความหนาแผ่นเอว ความกว้างแผ่นปีก และความหนาแผ่นปีกที่มีต่อค่ากำลังอัดและการถ่ายเทความร้อน รวมทั้งพิจารณาค่ากำลังอัดที่อัตราส่วนความชะลูด SR เท่ากับ 15 และ 30 ที่มีต่อผนังรับแรงที่ทำจากวัสดุผสมระหว่างพลาสติกพีวีซีและขี้เลื่อยไม้ (WPVC) โดยขึ้นรูปชิ้นงานเป็นผนังทดสอบขนาดจริงและทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ตัวแปรที่ใช้ศึกษาประกอบด้วย ความหนาแผ่นเอวขนาด 12 และ 20 มิลลิเมตร ความกว้างแผ่นปีกขนาด 70 100 และ 140 มิลลิเมตร และความหนาแผ่นปีก 20 และ 35 มิลลิเมตร ผลการทดสอบ พบว่า ความหนาแผ่นเอว ความกว้างแผ่นปีก และความหนาแผ่นปีกที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ผนังรับแรงที่ทำจากวัสดุผสมระหว่างพลาสติกพีวีซีและขี้เลื่อยไม้มีแนวโน้มที่สามารถรับกำลังอัดได้สูงขึ้น มีการเสียรูปด้านข้างลดลงและความสามารถในการต้านทานความร้อนเพิ่มขึ้น ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของค่าอัตราส่วนความชะลูด ส่งผลให้ผนังรับแรงสามารถรับกำลังอัดน้อยลงและมีการเสียรูปด้านข้างเพิ่มขึ้น

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

ภาคสัญไชย ธ. (2021). กำลังอัดและการถ่ายเทความร้อนของผนังรับแรงที่ทำจากวัสดุผสม ระหว่างพลาสติกพีวีซีและขี้เลื่อยไม้ที่มีหน้าตัดแตกต่างกัน. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, STR-18. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1109