การวิเคราะห์ความเสียหายของอาคารโรงงานเนื่องจากดินบวมตัวใน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง
บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์ความเสียหายของอาคารโรงงานหลังหนึ่งใน อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง พบว่าอาคารเกิดรอยร้าวตามผนังและพื้นไปทั่วทั้งอาคาร ที่สำคัญที่สุดคือเครนชนิดเคลื่อนที่ได้ภายในอาคารนี้ไม่สามารถวิ่งไปตามคานที่รองรับได้เนื่องจากคานมีการโก่งตัวมากเกินไป จากการรวบรวมข้อมูลความเสียหายในเบื้องต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 ถึง พ.ศ. 2563 พบว่าคานดังกล่าวมีค่าระดับที่ต่างกันมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนั้นยังพบรอยแตกขวางบนเสาเข็มต้นหนึ่งซึ่งเป็นลักษณะของการวิบัติจากแรงดึง จากการเก็บตัวอย่างดินไปทดสอบหาค่าการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ในห้องปฏิบัติการ พบว่าดินที่อยู่ภายใต้อาคารหลังดังกล่าวมีแร่มอนต์มอริลโลไนต์ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ดินมีความสามารถในการพองตัวและหดตัวได้หากมีการเปลี่ยนแปลงความชื้นภายในดิน จากการทดสอบการพองตัวอย่างอิสระและการทดสอบความดันจากการพองตัว พบว่าดินมีศักยภาพในการพองตัวได้สูงมาก จึงสามารถสรุปได้ว่าความเสียหายของอาคารหลังนี้เกิดจากการออกแบบอาคารและสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับคุณสมบัติของดินใต้อาคาร ซึ่งมีด้วยกันสามประเด็นหลัก ได้แก่ 1) อาคารได้รับการออกแบบให้พื้นชั้นล่างของอาคารวางอยู่บนดินโดยตรง ไม่มีการเว้นช่องว่างใต้พื้นไว้เผื่อการพองตัวของดิน 2) เสาเข็มที่รองรับเสาของอาคารมีความยาวไม่เพียงพอที่จะต้านทานแรงดันจากการพองตัวของดิน และ 3) มีการก่อสร้างแหล่งเก็บน้ำใกล้กับอาคาร ซึ่งน่าจะเป็นสาเหตุของความชื้นในดินที่เพิ่มขึ้น นอกจากนั้นจากการทดสอบแรงดันในการบวมตัวของตัวอย่างดินที่เก็บมาแบบคงสภาพ ยังพบว่าดินที่อยู่ภายใต้อาคารหลังดังกล่าวยังสามารถพองตัวได้อีก
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์