การศึกษาอิทธิพลของขนาดมวลรวมรีไซเคิลชั้นคุณภาพ M ต่อกำลังคอนกรีต

  • พนารัตน์ แสงปัญญา สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ: มวลรวมรีไซเคิล, คอนกรีต, รีไซเคิล,โมดูลัสความยืดหยุ่น, กำลังคอนกรีต

บทคัดย่อ

การศึกษาเทคโนโลยีการเตรียมคอนกรีตรีไซเคิลภายใต้ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและทางเทคนิคได้รับความสนใจอย่างจริงจังมากขึ้นในแต่ละประเทศ เนื่องจากผลกระทบและการมีส่วนร่วมต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อมอันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคมมนุษย์ งานวิจัยนี้ทำการทดสอบโดยควบคุมตัวแปร ใช้มวลรวมหยาบ 3 กลุ่ม คือ มวลรวมหยาบธรรมชาติ (กลุ่ม N) มวลรวมหยาบจากการรีไซเคิลคอนกรีตผลิตในห้องปฏิบัติการ (กลุ่ม RL)  และมวลรวมหยาบจากการรีไซเคิลคอนกรีตผลิตนำเข้าจากโรงงานในประเทศญี่ปุ่น (กลุ่ม RP)   เพื่อประเมินอิทธิพลของขนาดมวลรวมหยาบรีไซเคิลชั้นคุณภาพ M ตามมาตรฐาน JIS ที่มีผลต่อคุณลักษณะที่เกี่ยวกับความแข็งแรงของคอนกรีต โดยกำหนดขนาด 4.75 – 13.2 มิลลิเมตร (กลุ่ม A), 13.2-19 มิลลิเมตร (กลุ่ม B), 19-31.5 มิลลิเมตร (กลุ่ม C) เตรียมตัวอย่างรูปทรงกระบอกตามมาตรฐาน ASTM C192 หลังจากบ่มเป็นเวลา 28 วัน ทำการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM C39 ผลการศึกษาพบความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกลของคอนกรีตจากมวลรวมรีไซเคิลและขนาดของมวลรวม และได้เสนอแบบจำลองการถดถอยของคอนกรีตรีไซเคิลเพื่อทำนายค่าโมดูลัสความยืดหยุ่น และเพื่อปรับการออกแบบสัดส่วนส่วนผสม การศึกษานี้ช่วยสนับสนุนข้อมูลในการปรับส่วนผสมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะด้านกำลังคอนกรีตสำหรับโรงงานคอนกรีตจากมวลรวมรีไซเคิล โดยพิจารณาจากขนาดมวลรวมรีไซเคิล.

จำนวนการดาวน์โหลด

ยังไม่มีข้อมูลการดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
2021-06-24