การอัดตัวคายน้ำของดินเหนียวอ่อนผสมเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์
คำสำคัญ:
การอัดตัวคายน้ำ, ดินเหนียวอ่อน, เถ้าลอย, จีโอโพลิเมอร์บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาการอัดตัวคายน้ำของดินเหนียวอ่อนผสมเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์ ดินเหนียวอ่อนเก็บที่ความลึก 5-8 เมตร บริเวณคลองเตย กรุงเทพฯ ตัวแปรต้นที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ปริมาณความชื้นของดินเหนียวอ่อน (Wn) เท่ากับ 1LL, 2LL และ 3LL (LL คือขีดจำกัดเหลว) และอัตราส่วนดินเหนียวอ่อนต่อเถ้าลอย (SC:FA) เท่ากับ 90:10, 70:30 และ 50:50 ในขณะที่อัตราส่วนอัลคาไลน์ต่อเถ้าลอยเท่ากับ 0.6 อัตราส่วนของสารละลายโซเดียมซิลิเกตต่อโซเดียมไฮดรอกไซด์ (Na2SiO3/NaOH) เท่ากับ 1 และความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์เท่ากับ 8 โมลาร์ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าปริมาณความชื้น (Wn) และอัตราส่วนดินเหนียวอ่อนต่อเถ้าลอย (SC:FA) ส่งผลกระทบต่อค่าการทรุดตัวของดินเหนียวอ่อนผสมเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์ การทรุดตัวของดินเหนียวอ่อนผสมเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์มีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณความชื้นเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณช่องว่างในตัวอย่างเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการทรุดตัวของดินเหนียวอ่อนผสมเถ้าลอยจีโอโพลิเมอร์มีค่าลดลงตามปริมาณเถ้าลอยเพิ่มขึ้น เนื่องจากอัลคาไลน์สามารถชะซิลิก้า และอลูมิน่าออกจากเถ้าลอย เพื่อทำปฏิกิริยากับแคลเซียม ซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาปอซโซลาน
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์