การคาดการณ์ปริมาณฝนตามระดับการใช้ภาพฉายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบใหม่ในพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนลำปาว

ผู้แต่ง

  • หริส ประสารฉ่ำ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ปริมาณฝน, อ่างเก็บน้ำ, ลุ่มน้ำชี

บทคัดย่อ

การคาดการณ์ปริมาณฝนตามระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกแบบใหม่มีความสำคัญต่อการวางแผนจัดการทรัพยากรน้ำในระดับภูมิภาค การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของปริมาณฝนในพื้นอ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์และอ่างเก็บน้ำลำปาวในพื้นที่ลุ่มน้ำชี โดยใช้ข้อมูลปริมาณฝนปีฐาน ระหว่าง พ.ศ. 2550-2559 จากกรมอุตุนิยมวิทยา และใช้ข้อมูลจากแบบจำลองภูมิอากาศโลกภายใต้กรณีคาดการณ์ RCP4.5 และ RCP8.5 ระหว่าง พ.ศ.2563-2593 จำนวน 5 แบบจำลอง ได้แก่ HadGEM2_AO_RA,  HadGEM2_AO_RegCM, HadGEM2_AO_YSU_RSM,  CORDEX_SEA_EC_ EARTH และ CORDEX_SEA_MPI_ESM_MR ผลการศึกษาพบว่า แบบจำลอง HadGEM2_AO_RA มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการคาดการณ์ปริมาณฝนในพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์และอ่างเก็บน้ำลำปาวมากที่สุด เนื่องจากมีผลต่างจากปริมาณฝนปีฐานน้อยที่สุด โดยมีผลต่างในพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ กรณีคาดการณ์ ที่ RCP 4.5 เท่ากับ -1.9% และที่ RCP 8.5 เท่ากับ -0.3% และมีผลต่างในพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำลำปาวกรณีคาดการณ์ ที่ RCP 4.5 เท่ากับ -3%  และที่ RCP 8.5 เท่ากับ 2% ผลของการศึกษานี้คาดว่าจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำ ให้เหมาะสมสำหรับภาคการเกษตรกรรม การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งน้ำ การอุตสาหกรรมและการอุปโภค-บริโภคในอนาคต

Downloads

Download data is not yet available.

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

ประสารฉ่ำ ห. (2021). การคาดการณ์ปริมาณฝนตามระดับการใช้ภาพฉายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบใหม่ในพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนลำปาว. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, WRE-08. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1051