การประเมินประสิทธิภาพรูปแบบทางข้ามถนนแบบอัจฉริยะบนช่วงถนนในเขตเมืองด้วยแบบจำลองการจราจร
คำสำคัญ:
ทางข้ามถนนแบบอัจฉริยะ, ทางข้ามบนช่วงถนน, แบบจำลองการจราจรระดับจุลภาค, เทคโนโลยีขนส่งอัจฉริยะบทคัดย่อ
ทางข้ามถนนบนช่วงถนนเป็นจุดขัดแย้งระหว่างคนเดินเท้าและยานพาหนะซึ่งสร้างปัญหาการจราจรติดขัดและอุบัติเหตุบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางข้ามถนนบนช่วงถนนในเขตเมือง ในปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีขนส่งอัจฉริยะมาประยุกต์ใช้ในการจัดการการจราจรและความปลอดภัยบนโครงข่ายถนนอย่างมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทางข้ามถนนแบบอัจฉริยะ (Intelligent Pedestrian Crossing) เป็นทางข้ามถนนที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแบบอัตโนมัติมาเพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยแก่คนเดินและผู้ขับขี่ โดยตรวจจับกระแสจราจรของยานพาหนะที่แล่นเข้าสู่ทางข้ามและการเคลื่อนไหวของคนเดินที่กำลังข้ามถนน ควบคุมจังหวะสัญญาณไฟแก่คนข้ามและยานพาหนะ และปรับระยะเวลาสัญญาณไฟคนข้ามให้สอดคล้องกับการใช้งานของคนเดินข้าม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบจำลองการจราจรระดับจุลภาค PTV Vissim เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของทางข้ามแบบอัจฉริยะ และวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพกับทางข้ามทางม้าลาย ทางข้ามมีสัญญาณไฟแบบกดปุ่ม และทางข้ามที่ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ ผลการวิจัยพบว่า ทางข้ามถนนบนช่วงถนนในรูปแบบต่าง ๆ มีประสิทธิภาพการให้บริการในสภาพการจราจรของคนเดินข้ามและยานพาหนะที่แตกต่างกัน โดยแบบจำลองการจราจรของรูปแบบทางข้ามสามารถนำไปใช้พัฒนาเป็นเกณฑ์พิจารณารูปแบบทางข้ามอัจฉริยะบนช่วงถนนที่เหมาะสมในสภาพพื้นที่และสภาพการจราจรต่าง ๆ บนโครงข่ายถนนในเขตเมืองได้
Downloads
ดาวน์โหลด
เผยแพร่แล้ว
วิธีการอ้างอิง
ฉบับ
บท
การอนุญาต
บทความทั้งหมดที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 26 นี้ เป็นลิขสิทธิ์ของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์