การศึกษาการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย

ผู้แต่ง

  • อรณิช ธนากรรฐ์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • นพดล จอกแก้ว

คำสำคัญ:

การก่อสร้างระบบอุตสาหกรรม, อุตสาหกรรมก่อสร้างไทย, การวิเคราะห์ SWOT

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันอุตสาหกรรมก่อสร้างยังประสบปัญหาในหลายๆด้าน ได้แก่ ปัญหาการพึ่งพาแรงงานต่างชาติ การควบคุมมาตรฐานในการก่อสร้าง เป็นต้น ซึ่งการผลักดันการก่อสร้างให้เป็นระบบอุตสาหกรรม (Industrialized building system, IBS) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้าง เนื่องจากเป็นรูปแบบการก่อสร้างที่ลดการใช้แรงงาน ลดระยะเวลาการก่อสร้าง อีกทั้งยังลดความสูญเปล่าของวัสดุในขั้นตอนการก่อสร้าง ด้วยเหตุนี้จึงเกิดเป็นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในการใช้การก่อสร้างระบบอุตสาหกรรม โดยงานวิจัยนี้จะเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์และแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญในฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องเช่น เจ้าของโครงการ ผู้รับเหมา ผู้ออกแบบ ผู้ผลิต เป็นต้น จากการศึกษารูปแบบการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรมพบว่า วิธีการก่อสร้างในประเทศไทยที่เข้าข่ายเป็นการก่อสร้างแบบอุตสาหกรรมมากที่สุดคือ การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูประบบแผ่น นอกจากนี้ยังรวบรวมและประเมินปัจจัยภายในและภายนอกได้แก่ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในการใช้การก่อสร้างระบบอุตสาหกรรม ผลการประเมินปัจจัยภายในพบว่าผู้รับเหมาในประเทศไทยมีศักยภาพในการก่อสร้างด้วยระบบ IBS แต่ผู้ออกแบบยังขาดแนวคิดในการออกแบบงานให้สามารถก่อสร้างด้วยระบบอุตสาหกรรม จากการประเมินปัจจัยภายนอกพบว่า ความต้องการงานก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นเป็นโอกาสในการนำการก่อสร้างด้วยระบบอุตสาหกรรมมาใช้ แต่ยังขาดการสนับสนุนจากภาครัฐในการนำการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรมเข้ามาปรับใช้ให้แพร่หลายมากขึ้น

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

ดาวน์โหลด

เผยแพร่แล้ว

2021-06-24

วิธีการอ้างอิง

ธนากรรฐ์ อ., & จอกแก้ว น. (2021). การศึกษาการก่อสร้างระบบอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย. การประชุมวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26, 26, CEM-32. สืบค้น จาก https://conference.thaince.org/index.php/ncce26/article/view/1001